fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (EEM) 2009 |
1. | ความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกอุตสาหกรรมยางพาราของประเทศไทย กรณีศึกษา น้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรภัทร นามประเทือง | ||
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศผู้ผลิตยางพาราอันดับหนึ่งของโลก อุตสาหกรรมการ
ผลิตน้ำยางข้นและผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มความสำคัญ เพื่อใช้ในการป้องกันโรคและความปลอดภัย
มากขึ้น การศึกษาในครั้งนี้เพื่อวิเคราะห์ค่าดัชนีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ (RCA), การ
วิเคราะห์ตามทฤษฎี Diamond Model และการวิเคราะห์ SWOT เพื่อศึกษาโครงสร้าง การผลิต
การตลาด และการส่งออก
การวิเคราะห์ด้วยค่าดัชนี RCA ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในช่วงปี 2547 - 2551 พบว่า น้ำยาง
ข้นของไทยมีค่า RCA ซึ่งแสดงถึงความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากกว่าอินโดนีเซียและ
เวียดนามในตลาดมาเลเซีย โดยค่า RCA ของไทยมีแนวโน้มลดลงในช่วงปี 2550 - 2551 เมื่อ
เปรียบเทียบกับในปี 2549 ในส่วนของทฤษฎี Diamond Model และการวิเคราะห์ SWOT
โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก (In Depth Interview) ผู้อำนวยการส่วนอุตสาหกรรม
ยาง สถาบันยางและผู้บริหารโรงงานน้ำยางข้นจำนวน 6 โรงงานในช่วง ธันวาคม 2552 ถึง
มกราคม 2553 โดยจุดแข็งของอุตสาหกรรมน้ำยางข้น ได้แก่ ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตน้ำยาง
มากที่สุดในโลก แรงงานมีประสบการณ์ จุดอ่อน คือ ด้านคุณภาพของวัตถุดิบ และการทำตลาด
เชิงรุก โอกาส คือรัฐบาลสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลิตภัณฑ์น้ำยางข้นและด้าน
อุปสรรค คือราคาพลังงานและตลาดส่งออกมีมาตรการเข้มงวดเพิ่มขึ้น ในด้านการวิเคราะห์
ทฤษฎี Diamond Model กลยุทธ์โครงสร้างขององค์กรและสภาวะการแข่งขัน การ
สนับสนุนการทำตลาดและช่องทางการจำหน่าย ปัจจัยการผลิต แม้ประเทศไทยมีแหล่งวัตถุดิบ
มากและแรงงานมีประสบการณ์แต่คุณภาพของวัตถุดิบไม่สม่ำเสมอขาดนักวิจัยและเงินทุน
ปัจจัยสนับสนุน มีธุรกิจเชื่อมโยงและสถาบันสนับสนุน ปัจจัยด้านอุปสงค์ ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม
และมีความรู้ด้านสินค้าดีต้องการสินค
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250