fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIM) 2018 |
1. | อิทธิพลของการรับรู้คุณค่าและการตระหนักรู้ตราสินค้าที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการซื้อซ้ำของผลิตภัณฑ์ซีเรียลผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พีรวิชญ์ ธีระกาญจน์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้คุณค่าและการตระหนักรู้ตราสินค้า ที่มีผลต่อการซื้อซ้ำและ (2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุอิทธิพลของการ รับรู้คุณค่าและการตระหนักรู้ตราสินค้าที่มีผลต่อ ความพึงพอใจ ความไว้วางใจตราสินค้า และ
การซื้อซ้ํา ผ่านช่องทางออนไลน์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสำรวจ
จากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ที่เคยมีประสบการณ์ซื้อซีเรียลผ่านช่องทางออนไลน์
อายุ 25 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 357 คน วิเคราะห์ด้วยข้อมูลสถิติค่า
ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์ตัวแปร
แบบสมการเชิงโครงสร้างโดยโปรแกรม Smart PLS 3.0
ผลการทดสอบสมมติฐานจากสมการเชิงโครงสร้างพบว่า การรับรู้คุณค่ามีอิทธิพลต่อ
ความพึงพอใจ การตระหนักรู้ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อความพึงพอใจและความไว้วางใจในตรา
สินค้า ความพึงพอใจมีอิทธิพลต่อความไว้วางใจในตราสินค้าและการซื้อซ้ํา ความไว้วางใจใน
ตราสินค้ามีอิทธิพลต่อการซื้อซ้ำอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01
Full Text : Download! |
||
2. | แนวทางการบริหารสวัสดิการของพนักงานในกลุ่มธุรกิจยานยนต์ : กรณีศึกษา บริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภัคชัญญา ลีลาเอกเลิศ | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสวัสดิการของพนักงานในกลุ่ม
ธุรกิจยานยนต์ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นพนักงานของบริษัทกลุ่มธุรกิจยานยนต์ในเขต
นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยสวัสดิการแรงงานที่นอกเหนือจากกฎหมายกำหนด และ
ปัจจัยด้านโครงสร้างของตำแหน่งงาน ที่มีต่อความพึงพอใจในระบบการบริหารสวัสดิการ ประมวลผล
ข้อมูลด้วยหลักสถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสถิติ T-test
และวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ที่ค่านัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัย ทั้งสามกลุ่มมีผลต่อระดับความพึงพอใจในระบบการบริหารสวัสดิการของพนักงานที่แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญ จากผลการศึกษาพบว่า
1. ดานปจจยส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อายุระหว่าง 41-50 ป ีมีระดับการศึกษาต่ำกว่าหรือเทียบเท่ากับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีสถานภาพสมรสไม่มีบุตรธิดา ทำงานในฝ่ายผลิต เป็นพนักงานมีระยะเวลาในการทำงาน มากกว่า
15 ปีขึ้นไป
2. ปัจจัยด้านเพศที่แตกต่างกัน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับ
สวัสดิการที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ด้านนันทนาการและสุขภาพอนามัย แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
3. ปัจจัยด้านลักษณะงานที่แตกต่างกัน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็น
เกี่ยวกับสวัสดิการที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ด้านการมุ่งพัฒนาลูกจ้าง แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
4. ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับสวัสดิการที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดด้าน
สวัสดิการด้านการมุ่งพัฒนาลูกจ้างมีความคิดเห็นน้อยที่
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250