fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MBJ) 2016 |
1. | การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และภาวะผู้นำ ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร กรณีศึกษา องค์กรธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์และให้บริการระบบควบคุมอัตโนมัติ (Measurement & Control) สัญชาติญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สิริรักษ์ ศิริมาสกุล | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นของการบริหารทรัพยากร
มนุษย์ ภาวะผู้นำ และความผูกพันต่อองค์กร 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารทรัพยากรมนุษย์
กับความผูกพันต่อองค์กร 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับความผูกพันต่อองค์กร 4) การ
บริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร และ 5) ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความผูกพัน
ต่อองค์กร
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานระดับหัวหน้างาน
ผู้บริหารระดับต้น และ ผู้บริหารระดับกลางทั้งหมดในกลุ่มองค์กรธุรกิจจำหน่ายผลิตภัณฑ์และ
ให้บริการระบบควบคุมอัตโนมัติ (Measurement & Control) สัญชาติญี่ปุ่น จำนวนทั้งสิ้น 133 คน
โดยการตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอย
เชิงพหุ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ภาวะผู้นำ
และความผูกพันต่อองค์กร โดยรวมอยู่ในระดับสูง 2) ด้านความสัมพันธ์ของปัจจัย พบว่า ตัว
แปรการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับความผูกพันต่อองค์กร มีค่าความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง
(r = 0.623) และ ตัวแปรภาวะผู้นำกับความผูกพันต่อองค์กร มีค่าความสัมพันธ์ในระดับปาน
กลาง (r = 0.595) 3) ด้านความมีอิทธิพลของปัจจัย พบว่า การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านการ
ประเมินผลการปฏิบัติงาน และ ด้านค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ ส่งผลต่อความผูกพันต่อ
องค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปร =
0.377 และ 0.309 ตามลำดับ และ ภาวะผู้นำแบบสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านการมีอิทธิพล
อย่างมีอุดมการณ์ และ ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมด้านการแบ่งปัน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250