fieldjournalid
![]() | สารนิพนธ์ (MIT) 2019 |
1. | การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการเบิกจ่ายหน่วยงานภาครัฐในโรงพยาบาลเอกชน : กรณีศึกษา โรงพยาบาลการุญเวช สุขาภิบาล 3 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภานุพงศ์ ซื่อภักดี | ||
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการเบิกจ่ายหน่วยงานภาครัฐในโรงพยาบาลเอกชน กรณีศึกษา โรงพยาบาลการุญเวช สุขาภิบาล3เพื่อรวบรวมข้อมูลต่างไว้ที่เดียวกัน ระบบสามารถรวบรวมข้อมูลเวชระเบียนที่สำคัญและวิเคราะห์ข้อมูลได้ตามความต้องการได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เป็นการลดความซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานและสามารถนำส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องมีประสิทธิภาพ ระบบนี้พัฒนาโดยใช้โปรแกรม Microsoft SQL Server 2008 เป็นตัวจัดเก็บฐานข้อมูล ทำงานในรูปแบบของเว็บแอพพลิเคชั่นด้วยภาษา Visual Basic 2010
การประเมินความพึงพอใจของระบบ ทำการประเมินโดยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน และ กลุ่มผู้ใช้งานแต่ละโปรแกรมๆ 5 คน จำนวน 3 โปรแกรม โดยใช้การประเมินแบบ Black Box Testing ผลการวิจัย ปรากฏว่า การประเมินความพึงพอใจของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ได้ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.22 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.35 ผู้ใช้งานระบบข้อมูลภาครัฐ สปชสในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.18ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.48 ผู้ใช้งานระบบข้อมูลภาครัฐ สปส.ในภาพรวมค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.29 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.44
และ ผู้ใช้งานระบบข้อมูลฝ่านเวชระเบียนในภาพรวมค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.28 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.53
Full Text : Download! |
||
2. | การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบ E-Learing โดยการตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา เพื่อการพัฒนาการเรียน E-Learning [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภรภัทร อิทธิไพศาล | ||
การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบ E-Learning โดยการตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา เพื่อการพัฒนาการเรียน E-Learning มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) 2) เพื่อหาตัวชี้วัดความสนใจในการเรียนผ่าน E-Learning โดยใช้อุปกรณ์ JINS MEME ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา โดยสามารถแบ่งขั้นตอนในการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) การสร้างบทเรียน E-Learning 2) การเก็บข้อมูลของผู้เรียนโดยใช้แว่นตา 3) การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
ในการสร้างบทเรียน E-Learning มีการออกแบบบทเรียนทั้งหมด 3 รอบ ซึ่งบทเรียนที่ 1 มีรูปภาพและการวางตำแหน่งเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม บทเรียนรอบที่ 2 มีเนื้อหาต่อหน้าน้อยเกินไป และบทเรียนรอบที่ 3 เป็นบทเรียนที่มีเนื้อหาเหมาะสมมากที่สุด เรื่องพฤติกรรมของสัตว์ และได้ทดลองเก็บข้อมูลกับผู้เรียนจำนวน 14 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจจับดวงตาพบว่า หากผู้เรียน 1) มีจำนวนการกระพริบตาน้อยกว่าค่าเฉลี่ย (11.40/นาที) และ 2) มีผลต่างจำนวนการเคลื่อนไหวของดวงตาขึ้นข้างบนและลงข้างล่างต่ากว่าค่าเฉลี่ย (20.60/นาที) และ 3) มีผลต่างจำนวนการเคลื่อนไหวของดวงตาไปทางซ้ายและไปทางขวาขวาต่ากว่าค่าเฉลี่ย (1.17/นาที) แนวโน้มว่ามีความสนใจในการเรียน แต่หากผู้เรียน 1) มีจำนวนการกระพริบตามากกว่าค่าเฉลี่ย (11.40/นาที) และ 2) มีผลต่างจำนวนการเคลื่อนไหวของดวงตาขึ้นข้างบนและลงข้างล่างมากกว่ากว่าค่าเฉลี่ย (20.60/นาที) และ 3) มีผลต่างจำนวนการเคลื่อนไหวของดวงตาไปทางซ้ายและไปทางขวามากกว่าค่าเฉลี่ย (1.17/นาที) แนวโน้มว่ามีความเบื่อหรือไม่สนใจในการเรียน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250