fieldjournalid
![]() | สหกิจศึกษา (CE) 2013 |
1. | การเข้ารหัสลับข้อมูลโดยการใช้เซลลูลาร์ออโตมาตาร่วมกับระบบอลวน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วันกวี มูลฐี | ||
งานวิจัยนี้ศึกษาการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัลโดยการใช้เซลลูลาร์ออโตมาตาร่วมกับระบบอลวน เพื่อใช้ในการประยุกต์การเข้ารหัสลับข้อมูล เนื่องจากข้อมูลของภาพดิจิทัลมีขนาดใหญ่กว่าข้อมูลของข้อความ จึงทำให้การเข้ารหัสลับแบบเก่าใช้เวลามากในการเข้ารหัสลับ นอกจากนี้การเข้ารหัสลับแบบเก่านั้นมีความปลอดภัยลดน้อยลงจากเดิมมาก เพราะมีความซับซ้อนในการเข้ารหัสลับไม่มาก จึงถูกถอดรหัสลับได้ในเวลาเพียงเล็กน้อย เทคโนโลยีการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัลจึงเป็นทางเลือกที่ทาให้ข้อมูลที่เข้ารหัสลับภาพดิจิทัลมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับข้อมูลของภาพดิจิทัลอีกทางหนึ่ง เพราะฉะนั้นงานวิจัยนี้จึงเลือกศึกษาเทคโนโลยีการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัลโดยการใช้เซลลูลาร์ออโตมาตาและระบบอลวน เพื่อนำมาออกแบบอัลกอริทึมที่ใช้ในการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัล และประยุกต์ใช้กับการเข้ารหัสลับข้อมูลไฟล์ชนิดอื่น ๆ
ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิจัยพบว่า อัลกอริทึมที่นาเสนอมีค่าเอนโทรปีเข้าใกล้ 8 ซึ่งค่าดังกล่าวเป็นไปตามทฤษฎีและจากการเปรียบเทียบระหว่างภาพก่อนการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัลและภาพหลังการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัล แต่ละระนาบสีองค์ประกอบมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เข้าใกล้ศูนย์ ซึ่งแสดงถึงการไม่มีความสัมพันธ์กันระหว่างภาพก่อนการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัลและภาพหลังการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัล นอกจากนี้ค่าความถี่ของความเข้มแสงในแต่ละระนาบสีองค์ประกอบของภาพหลังเข้ารหัสลับภาพดิจิทัลมีค่าความถี่แต่ละช่วงความเข้มแสง (0-255) ที่ใกล้เคียงกัน ผลลัพธ์ดังกล่าวบ่งชี้ให้เห็นว่าการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัลที่มีความปลอดภัยสูง และใช้ระยะเวลาในการเข้ารหัสลับภาพดิจิทัลน้อยลง
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาวิธีการปรับปรุงตำแหน่งเซนเซอร์ตรวจจับเส้นสำหรับหุ่นยนต์เดินตามเส้น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณฐภัทร ลวดเงิน | ||
ปัจจุบันมีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ช่วยหรือทำงานแทนมนุษย์มากมาย มีทั้งปฏิบัติงานบนพื้นที่จำกัดไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่หรือสามารถเคลื่อนที่ไปปฏิบัติงานบนพื้นต่าง ๆ ซึ่งการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ไปปฏิบัติงานบนพื้นที่เป้าหมายสามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่ง่ายสุดคือการเคลื่อนที่ตามเส้นทางที่กำหนดไว้บนพื้น แต่การศึกษาหุ่นยนต์เดินตามเส้นที่ผ่านมาเน้นการพัฒนาโปรแกรมควบคุมการขับเคลื่อน ซึ่งการทำงานพื้นฐานถูกมองข้ามไป เช่น ตำแหน่งเซนเซอร์ตรวจจับเส้นทางต้องสัมพันธ์กับความเร็วในการเคลื่อนที่
โครงงานนี้เป็นการศึกษาตำแหน่งการติดตั้งเซนเซอร์ของหุ่นยนต์เคลื่อนที่ตามเส้นทาง เพื่อหาตำแหน่งที่เหมาะสมกับความเร็วในการเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางที่กำหนดไว้บนพื้นโดยอาศัยหุ่นยนต์จำลองขนาดเล็กที่สามารถขับเคลื่อนไปตามเส้นทางจำลองได้ แบบไม่มีการควบคุมด้วยโปรแกรม และทดลองตามวิธีการ DOE (Design of Experiment) เพื่อทำให้การออกแบบหุ่นยนต์เดินตามเส้นมีประสิทธิภาพสูงสุด
ผลการทดลองพบว่าระยะรัศมีเซนเซอร์ตาแหน่ง 5.7cm. (ระยะกลาง) สามารถทำความได้เร็วดีสุด แต่หากพิจารณาความแปรปวนที่เกิดขึ้นจะพบว่า ระยะรัศมีเซนเซอร์ตาแหน่ง 8cm. (ระยะไกล) มีความแปรปวนน้อยกว่า ซึ่งหากพิจารณาประสิทธิภาพจะสรุปได้ว่า ความเร็วในการเคลื่อนที่ยิ่งสูง ควรจะมีระยะรัศมีเซนเซอร์ที่ไกลจากจุดกึ่งกลางของหุ่นยนต์
Full Text : Download! |
||
3. | แบบจำลองระบบขับเคลื่อนสองล้อสำหรับพาหนะส่วนบุคคล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ตะวัน ตีสองเมือง, กฤตนัย ภู่อิ่ม | ||
ปัจจุบันพาหนะส่วนบุคคลขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำของคนเรามากขึ้น อาจเป็นทั้งเพราะทรัพยากรธรรมชาติประเภทพลังงานเช่น น้ำมันเชื้อเพลิงกำลังจะหมดลงรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ช่วยในการขับเคลื่อน และค่าใช้ง่ายในการบำรุงที่สูงขึ้นตามลำดับ ดังนั้นทางเลือกที่ช่วยลดปัญหาทรัพยากรธรรมชาติประเภทพัลลังานและช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการเดินทางคือ พาหนะส่วนบุคลชนิดขับเคลื่อนสองล้อหรือ Segway ได้มีการนำมาใช้งานกันอย่างแพร่หลาย แต่ยังมีราคาค่อนข้างสูงและควบคุมการขับเคลื่อนต้องอาศัยทักษะที่ต้องยืนและโน้มตัว ทางผู้จัดทำจึงคิดว่าคงจะดีกว่าหากการขับเคลื่อนนั้น โครงงานนี้ต้องการพัฒนาพาหนะส่วนบุคคลชนิดขับเคลื่อนสองล้อให้มีราคาถูกลง และสามารถใช้งานได้ง่ายใกล้เคียงกับการขับรนยนต์ทั่วไปคือ การขับเคลื่อนด้วยการนั่งและควบคุมด้วยพวงมาลัย โดยศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของพาหนะส่วนบุคคลสองล้อ เพื่อทำการออกแบบสร้างแบบจำลองและทดสอบ เพื่อยืนยันทฤษฎีและเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนา Seat Segway ขนาดเท่าจริงในอนาคต
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250