fieldjournalid
![]() | งานวิจัย คณะบริหารธุรกิจ 2020 |
1. | รายงานการวิจัย อิทธิพลภาะผู้นำการเปลี่ยนแปลงส่งผลต่อการจัดการสไตล์ญี่ปุ่น กิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและประสิทธิภาพการดำเนินงานของพนักงานในองค์กรญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : บุญญาดา นาสมบูรณ์ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลและทดสอบตัวแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการสไตล์ญี่ปุ่น และกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กรญี่ปุ่นในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ โดยการวิเคราะห์และเปรียบเทียบทิศทางของอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมตัวแปรเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานที่ทำงานในสายงานการผลิต จำนวน 551 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการวิจัยพบว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อการจัดการสไตล์ญี่ปุ่นโดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.224 และพบว่า ผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานผ่านตัวแปรคั่นกลางการจัดการสไตล์ญี่ปุ่นและตัวแปรคั่นกลางกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.248 โดยสามารถอธิบายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01
Full Text : Download! |
||
2. | รายงานการวิจัย ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอพพลิเคชั่นสั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สัณฑวุฒิ ตุลารักษ์ | ||
การวิจัยเรื่อง “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการแอพพลิเคชั่นสั่งและจัดส่งอาหาร
ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นสั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการแอพพลิเคชั่นสั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร และ 3) ศึกษาปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้แอพพลิเคชั่นสั่งและจัดส่งอาหารของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ ทดสอบ t-test, f-test และ ANOVA
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 31-40 ปี มีการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีสถานภาพโสด ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัท มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 45,000 บาท และอาศัยอยู่ในบ้านเดี่ยว พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นสั่งและจัดส่งอาหารมากที่สุด คือ GrabFood สำหรับช่วงเวลาที่เรียกใช้บริการบ่อยที่สุด คือ 18:01-22:00 น. ส่วนจำนวนครั้งที่เรียกใช้บริการต่อสัปดาห์ส่วนใหญ่นาน ๆ ครั้งจึงจะเรียกใช้บริการ สถานที่จัดส่งอาหารส่วนใหญ่จะให้มาส่งที่บ้าน โดยสั่งอาหารมารับประทานกับครอบครัว ค่าอาหารที่สั่งต่อครั้ง โดยเฉลี่ยมากกว่า 500 บาท และบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้แอพพลิเคชั่นคือตัดสินใจด้วยตนเอง
ผลการทดสอบสมมติฐาน ปัจจัยทางด้านส่วนประสมทางการตลาด ประกอบด้วย ปัจจัยด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical Evidence) ปัจจัยช่องทางการจัดจำหน่าย (Place) ปัจจัยราคา (Pric
Full Text : Download! |
||
3. | รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่อง การจำลองการเปลี่ยนแปลงของส่วนแบ่งการตลาดและราคาของผลิตภัณฑ์สบู่สมุนไพรไทยโดยใช้แผนที่การรับรู้แบบสามมิติ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วุฒิ สุขเจริญ | ||
สมุนไพรไทยนอกจากนำมาเป็นส่วนผสมของยารักษาโรคแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่นิยมนำสมุนไพรมาเป็นส่วนผสมมากที่สุดคือสบู่ อย่างไรก็ตามสบู่สมุนไพรไทยนับว่ามีส่วนแบ่งการตลาดไม่มากนักเมื่อเทียบกับตลาดรวม การวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาแนวทางพัฒนาสบู่สมุนไพรไทยเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ผู้วิจัยใช้แผนที่การรับรู้สามมิติเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลมาจำลองส่วนแบ่งการตลาดและราคา
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจซื้อสบู่ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สบู่ของผู้บริโภค 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาสบู่สมุนไพรไทยเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด 4) เพื่อศึกษาราคาที่เหมาะสมของสบู่สุนไพรไทย ผลการวิจัยพบว่าหากสบู่เบทเนท (ผู้นำตลาดสบู่สมุนไพรไทย) ปรับราคาลง ปรับปรุงด้านกลิ่น คุณลักษณะขณะใช้งาน และลักษณะทางกายภาพ จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 11.67 เป็นร้อยละ 16.27 และหากสบู่สมุนไพรไทยแบรนด์ขนาดเล็ก ปรับราคาลง สร้างแบรนด์ให้ผู้บริโภคคุ้นเคยมากขึ้น และปรับลักษณะทางกายภาพ จะสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดจากร้อยละ 7.00 เป็นร้อยละ 14.05 และราคาที่เหมาะสมสำหรับสบู่สมุนไพรไทยคือ 42 บาทต่อก้อน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250