fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MBJ) 2020 |
1. | ทุนมนุษย์อุปถัมภ์จากองค์กร และภาวะผู้นำส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพ กรณีศึกษา ผู้บริหารระดับกลางชาวไทยในบริษัทวิจัยและพัฒนายานยนต์ชั้นนำ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ไกรคุณ กาญจนประภาส | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทุนมนุษย์ ปัจจัยอุปถัมภ์จากองค์กร และปัจจัยภาวะผู้นำส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพของผู้บริหารระดับกลางชาวไทยในบริษัทวิจัยและพัฒนายานยนต์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 153 ตัวอย่าง และยืนยันผลลัพธ์จากการศึกษาด้วยการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับสูงในบริษัทวิจัยและพัฒนายานยนต์ชั้นนา จำนวน 5 ตัวอย่าง ใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างสองกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุตัวแปร การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทาง
การศึกษาพบว่า 1) ทุนมนุษย์ด้านประสบการณ์การปฏิบัติงานและด้านทักษะผู้บริหารแตกต่างกันส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) อุปถัมภ์จากองค์กรด้านโอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะ ด้านทรัพยากรองค์กร ด้านอุปถัมภ์ด้านอาชีพ และด้านการสนับสนุนจากหัวหน้าส่งผลต่อความสำเร็จในอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ทุนมนุษย์ด้านประสบการณ์การปฏิบัติงานส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหาร R&D อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) อุปถัมภ์จากองค์กรไม่ส่งผลต่อภาวะผู้นำของผู้บริหาร R&D และ 5) คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อความสำเร็จในอาชีพที่ค่าน้าหนักอิทธิพลเท่ากับ 0.345 สามารถอธิบายความสัมพันธ์ได้ร้อยละ 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ผลการสัมภาษณ์ยืนยันว่าปัจจัยทุนมนุษย์และปัจจัยอุปถัมภ์จากองค์กรเป็นปัจจัยสาคัญต่อทั้งความก้าวหน้าในอาชีพและความสำเร็จในอาชีพของการเป็นผู้บริหารขององค์กร และภาวะผู้นำเป็นปัจจัยที่จำเป็นและส่งเสริมความสำเร็จในอาชีพผู้บริหาร
Full Text : Download! |
||
2. | ภาวะผู้นำและการบริหารแบบญี่ปุ่นส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันในงานและผลการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์องค์กรญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภรณ์ทิพย์ อินทรุขา | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำและการบริหารแบบญี่ปุ่นส่งผลต่อ
ผลการปฏิบัติงานผ่านตัวแปรคั่น กลางความยึดมั่น ผูกพันในงาน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ
เก็บรวบรวมข้อมูลจากพนักงานประจำในบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์องค์กรญี่ปุ่น จำนวน 400
ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มแบบใช้ความน่าจะเป็นโดยการเลือกตัวอย่างแบบชั้น ภูมิ สถิติที่ใช้ ได้แก่
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น การวิเคราะห์สมการ
โครงสร้างด้วยการวิเคราะห์เส้นทาง และการสัมภาษณ์ผู้บริหารและผู้จัดการฝ่ายที่เกี่ยวข้องชาว
ญี่ปุ่นและชาวไทยเพื่อยืนยันผลการวิจัยจำนวน 5 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วมและการบริหาร
แบบญี่ปุ่นมีอิทธิพลทางตรงต่อความยึดมั่น ผูกพันในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
โดยมีค่าเท่ากับ 0.691, 0.680 และ 0.723 ตามลำดับ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำ
แบบมีส่วนร่วม การบริหารแบบญี่ปุ่นและความยึดมั่น ผูกพันในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการ
ปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าเท่ากับ 0.590, 0.588, 0.631 และ
0.712 ตามลำดับ
และพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานผ่าน
ตัวแปรคั่น กลางความยึดมั่น ผูกพันในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่า
อิทธิพลทางตรง ทางอ้อมและอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.195, 0.395 และ 0.590 2) ภาวะผู้นำแบบมี
ส่วนร่วมมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานผ่านตัวแปรคั่น กลางความยึดมั่น ผูกพันในงาน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าอิทธิพลทางตรง ทางอ้อมและอิทธิพลรวมเท่ากับ
0.175, 0.405 และ 0.580 3) การบริหารแบบญี่ปุ่นมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250