fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MBJ) 2022 |
1. | อิทธิพลการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในโรงงานแบบโมโนซึคุริและการสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศองค์กรญี่ปุ่น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธนพร ศรประดิษฐ | ||
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในโรงงานแบบโมโนซุคุริส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านตัวแปรคั่นกลางการสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) รูปแบบพัฒนาขึ้นประกอบด้วยตัวแปรแฝงจานวน 3 ตัวแปร ได้แก่ การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในโรงงานแบบโมโนซูคุริ และประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ตัวแปรแฝงที่เป็นตัวแปรคั่นกลางคือ การสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) โดยมีตัวแปรสังเกตได้รวมทั้งสิ้น 10 ตัวแปร การวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล จากพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษากลุ่มบริษัทญี่ปุ่นผลิตเครื่องปรับอากาศ จานวน 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบใช้ความน่าจะเป็นโดยการเลือกตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และการวิจัยเชิงคุณภาพ จากผลยืนยันผลการศึกษาเชิงปริมาณ จากผู้จัดการแผนกโมโนซึคุริ จานวน 1 ท่าน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการทดสอบโมเดลแบบจาลองสมการโครงสร้างของกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นผลิตเครื่องปรับอากาศสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของกลุ่มบริษัทญี่ปุ่นผลิตเครื่องปรับอากาศ อยู่ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า X2 = 187.180, df = 29, p = 0.000, CFI = 0.956, GFI = 0.911, AGFI = 0.831, RMR = 0.015 และพบว่า การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในโรงงานแบบโมโนซุคุริมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน มีค่าเท่ากับ 0.095 และพบว่าการสื่อสารแบบญี่ปุ่น (โฮ เรน โซ) มีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.567 และพบว่าการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในโรงงานแบบโมโนซุคุริมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านตัวแปรคั่น
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250