fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MET) 2015 |
1. | การศึกษาการจุดตัวของจรวดชนิดภาคพื้นสู่ภาคพื้น [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จิรชายา ศรีขาว | ||
จรวดชนิดการยิงจากพื้นสู่พื้นที่ใช้ในประเทศไทย เป็นจรวดที่ใช้เชื้อเพลิงชนิดแข็ง ซึ่งระบบการทางานไม่ซับซ้อน เริ่มจากการจุดกลักจุดจรวด (Igniter Case) เพื่อส่งต่อพลังงานไปยังเชื้อเพลิงหลัก (ดินขับ) ที่อยู่ภายนอก ทำให้จรวดเกิดการเคลื่อนที่ทะยานขึ้นสู่อากาศ งานวิจัยนี้ศึกษาการพาความร้อนของอากาศ เมื่อมีการจุดกลักจุดจรวด โดยใช้วิธีจำลองเชิงตัวเลข (Computational Fluid Dynamics, CFD) ด้วย Fluent ในโปรแกรม ANSYS โดยเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงองศารูระบายอากาศของกลักจุดจรวดใน 3 ลักษณะ คือ ที่ 45º, 90º และการไล่องศาจาก 45º-90º พบว่าที่องศารูระบายอากาศที่ 90º นั้นสามารถพาความร้อนออกมาจากกลักจุดจรวดได้ดีกว่าที่องศาอื่นๆ
Full Text : Download! |
||
2. | การตรวจสอบข้อบกพร่องในกระบวนการป้องกันการเกิดสนิมในการขนส่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กฤตคม จักรฤทธิพงศ์ | ||
ปัจจุบันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งมี
โรงงานผลิตรถยนต์ชั้นนำตั้งอยู่ในประเทศไทยมากมาย รวมถึงโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ได้เข้ามา
ตั้งฐานผลิตตามบริษัทรถยนต์ขนาดใหญ่ และประเทศไทยยังให้การส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทำให้มี
ยอดการนำเข้าและส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ระหว่างประเทศเป็นจำนวนมาก ดังนั้น เมื่อมีการนำเข้า
และส่งออกเป็นจำนวนมากย่อมต้องมีกระบวนการขนส่ง และบรรจุภัณฑ์ที่ดีเพื่อป้องการชิ้นงาน
เสียหายระหว่างขนส่ง โดยในงานวิจัยนี้ได้หยิบยกปัญหาสำคัญในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศมา
หนึ่งหัวข้อคือ ปัจจัยในการเกิดสนิมระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศเพื่อจะศึกษา และหา
จุดบกพร่องใดที่ทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหายจากสนิมได้ และหาวิธี และกระบวนการป้องกันมิให้
ชิ้นงานเกิดสนิมในระหว่างการขนส่ง เพื่อลดเวลาในการเปลี่ยนชิ้นงานหรือซ่อมแซมรวมถึง
ค่าใช้จ่ายในการสูญเสียชิ้นงานที่เกิดจากสนิม
โดยในงานวิจัยนี้จะทำการจำลองเหตุการณ์ในการป้องกันการเกิดสนิมเพื่อหาข้อบกพร่องที่
ทำให้ชิ้นงานสามารถเกิดสนิมในระหว่างการขนส่งระหว่างประเทศ และหาแนวทางการแก้ไขเพื่อลด
ความสูญเสียที่เกิดจากสนิมเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการขนส่งระหว่างประเทศ โดยเทียบกับ
วัสดุที่ใช้ภายในโรงงานได้แก่ น้ำมันกันสนิม และ จาระบี ซึ่งสองอย่างนี้ได้มีการใช้อยู่ในกระบวนการ
ผลิตอยู่แล้ว แต่จะมีการเปรียบเทียบกับวัสดุกันสนิมแบบใหม่คือ VCI Sheet และ Intercept Tool
โดยสองอย่างหลังคือวัสดุกันสนิมที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยการทำ
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดสนิมรวมถึงความเหมาะสมหลายๆ ด้าน เช่น
ประสิทธิภาพในการป้องกันสนิม, ราคาของตัววัสดุ และความคุ้มค่าในการใช้งาน
Full Text : Download! |
||
3. | A LOW-COST AIR LEAKAGE MONITORING TECHNIQUE FOR INDUSTRIAL COMPRESSED AIR PIPING SYSTEM USING ACOUSTIC EMISSION SENSOR [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Kittipob Aurreethum | ||
This thesis presents Non-Destructive Inspection (NDI) of industrial compressed air piping system using Acoustic Emission (AE) sensing technique. The purpose of this paper is to implement a cost-effective AE sensing system for industrial application where a single AE sensor is realized for signal characterizations through Fast-Fourier Transform (FFT) algorithm. The experiment utilizes a steel pipeline with a diameter of 0.5 inches to model the industrial compressed air pipelines, completely including a 90o-Degree Elbow (ELL), a T-Shape Elbow (TEE), and blank-end. The air compressor with an electric regulator provides air pressure with four cases, i.e. 4 to 6 Bars. The AE sensor is attached to various points on the steel pipeline using grease. The AE signal is amplified with 20 dB prior to an analysisin Labview through National Instrument (NI) DAQ board. The signal characterization was performed through a magnitude in frequency response diagram. The results reveal that the AE signal with no-leak and leak conditions can be inspected accurately. The flaw signatures at different source of leakage can also be observed. This paper presents an alternative potential for a cost-effective AE characterization methods in industrial applications.
Full Text : Download! |
||
4. | ผลกระทบของอุณหภูมิและเวลาในการขึ้นรูปต่อสมบัติของถ่านชีวภาพจากกากมะพร้าว [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐภรณ์ สุวรรณนาคี | ||
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการขึ้นรูปถ่านชีวภาพ จากกากมะพร้าวด้วยกระบวนการอัดร้อน
โดยศึกษาผลกระทบของอุณหภูมิและเวลาในการขึ้นรูปต่อสมบัติของถ่านชีวภาพที่ผลิตได้ โดยถ่าน
ชีวภาพที่เตรียมขึ้นจะถูกนำไปตรวจสอบสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ ความหนา แน่นรวม และค่าความ
ร้อน จากการศึกษาพบว่าค่าความหนาแน่นของถ่านชีวภาพแปรผันตรงกับอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ใน
การขึ้นรูป โดยมีค่าความหนาแน่นของถ่านชีวภาพที่ผลิตได้อยู่ในช่วง 0.65-1.2 g/cm3 ค่าความร้อน
พบว่ามีค่าความร้อนสูงที่สุด 5,566 kcal/kg เมื่อทำการอัดถ่านชีวภาพที่อุณหภูมิ 170oC ใช้เวลาใน
การอัด 20 นาที นอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ เชิงสถิติด้วยวิธี One Way ANOVA โดยใช้โปรแกรม
Minitab ยังยืนยันว่าการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูปมีผลกระทบต่อการเพิ่มขึ้นของ
ความหนาแน่นรวมและค่าความร้อนของถ่านชีวภาพที่ผลิตได้อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น
95%
Full Text : Download! |
||
5. | การประเมินปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อแนวโน้มของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อรธินี พยัคฆะญาติ | ||
ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหาด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม
โดยในปี 2557 ภาคขนส่งมีการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายถึงร้อยละ 35.4 และเกือบทั้งหมดเป็นการใช้
พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิง จากสถานะการณ์ดังกล่าวทำให้เกิดการมองหารถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วย
พลังงานสะอาด อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า ที่ไม่ต้องใช้น้ามันเชื้อเพลิงเป็นพลังงานในการขับเคลื่อน
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อแนวโน้มของการใช้
รถยนต์ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร โดยเลือกเฉพาะรถยนต์นั่งส่วนบุคคล เพื่อหาความเป็นไปได้ในการ
ใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานคร โดยการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง เพื่อระบุแรงเสริม
แรงต้านโดยใช้ทฤษฎีแรงเสริม-แรงต้าน
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปได้ว่าแนวโน้มของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครนั้น
ยังมีข้อจำกัดในสถานะการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากเมื่อประเมินแล้วพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงเสริมมี
จำนวนน้อยกว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงต้าน โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการผลักดัน ได้แก่ การปรับปรุง
เทคโนโลยีที่ดีขึ้น โครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนการใช้รถยนต์ไฟฟ้า ความต้องการรถยนต์ประหยัด
พลังงานและสมรรถนะดีขึ้น ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแรงต้าน ได้แก่ ขาดนโยบายสนับสนุนที่มี
ประสิทธิภาพ ความต้องการใช้รถยนต์สันดาปภายในสูงขึ้น รถยนต์ไฟฟ้าราคาสูง ราคาขายต่อต่ำ
ซึ่งผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่สรุปได้ตรงกับทิศทางของภาครัฐในปัจจุบันที่มีการเน้นนโยบายไปที่การ
สนับสนุนการใช้รถโดยสารไฟฟ้าไม่ใช่รถยนต์ไฟฟ้าส่วนบุคคล
Full Text : Download! |
||
6. | การวิเคราะห์ลูปปิดในลวดจัดฟันโดยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภาณุพงศ์ หวังสุข | ||
งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของขนาดของลวดจัดฟันแบบลูปตัวทีต่อแรงดึง และอัตราส่วนของแรงต่อระยะเคลื่อนที่ และโมเมนต์ต่อแรง ซึ่งเป็นตัวแปรที่ต้องพิจารณาในการจัดฟันโดยใช้ลูป ทำการวิเคราะห์โดยปรับเปลี่ยนขนาดต่าง ๆ ของลูปตัวทีลูปตัวแอลและลูปตัวยู แล้วใช้วิธีไฟไนต์เอลิเมนต์หาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเคลื่อนที่ของขาลูปซึ้งแรงที่เกิดขึ้นในแนวระดับ พบว่า แรงในแนวระดับและอัตราส่วนของแรงต่อระยะเคลื่อนที่ ความยาวในแนวระดับของลวดที่เป็นส่วนบนของลูปยิ่งมีค่ามาก ยิ่งทำให้ได้แรงในแนวระดับมีค่าน้อย นอกจากนี้ความสูงของลูปซึ่งประกอบด้วยความสูงของขารวมกับความสูงของส่วนที่ดัดโค้งเป็นตัวทีมีผลต่อแรงในแนวระดับอย่างมีนัยสำคัญ ลูปที่มีความสูงมากจะทำให้ได้แรงในแนวระดับมีค่าน้อย ข้อมูลจากงานวิจัยนี้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบขนาดของลูปตัวทีที่เหมาะสม และยังใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ขนาดของลูปแบบอื่น ๆ ได้
Full Text : Download! |
||
7. | การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรในสายการประกอบกรณีศึกษา [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พัทธนันท์หิรัญฐิติทวีกุล | ||
การลดเวลาการปรับตั้งเครื่องจักร เป็นสาเหตุหลักของการลดเวลาสูญเปล่าของการผลิต
การเพิ่มอัตราการเดินให้เครื่องจักร เพิ่มอัตราการใช้งานของสายการประกอบ ทำให้สายการประกอบ
มีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้น การผลิตมีความยืดหยุ่น และเป็นแนวทางสำคัญเพื่อพัฒนาเป็นระบบการผลิต
แบบลีน
งานวิจัยนี้ ได้เน้นการปรับตั้งเครื่องจักรในกรณีของสายการผลิต โดยใช้กรณีศึกษาของสาย
การประกอบ 11 สถานี เป็นสายการประกอบชิ้นส่วนโดยพนักงานของโรงงานผลิตวิทยุรถยนต์ ใน
ขั้นตอนแรก นำหลักการของการศึกษางาน และแผนภูมิYamazumi วิเคราะห์เวลางานที่ใช้ในการ
ปรับตั้งเครื่องจักร เพื่อลดเวลางานที่ใช้ในการปรับตั้งเครื่องจักรของสถานีที่ใช้เวลามากที่สุด และ
ปรับปรุงโดยใช้หลักการการปรับตั้งเครื่องจักรโดยใช้เวลาเป็นจำนวนนาทีที่เป็นตัวเลขหลักเดียว
เพื่อให้ทุกสถานีมีเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งสามารถลดงานที่ใช้ในการปรับตั้งเครื่องจักรของสถานีที่ใช้เวลา
มากที่สุด จาก 16.62 นาทีแรงงาน เป็น 10.87 นาทีแรงงาน ต่อจากนั้น ศึกษาและวิเคราะห์โดย
แผนภูมิกิจกรรมพหุคูณ และปรับปรุงโดยการสมดุลย์การปรับตั้งเครื่องจักร ทำให้สามารถลดเวลา
ปรับตั้งเครื่องจักรของทั้งสายการประกอบจาก 17.54 นาที เป็น 9.37 นาที และลดเวลารอคอยการ
ปรับตั้งเครื่องจักร จาก 48.37 นาที เป็น 10.05 นาที เพื่อเพิ่มสมรรถภาพงาน และเพิ่มอัตราการใช้
งานของสายการประกอบให้เกิดผลผลิตสูงสุด
Full Text : Download! |
||
8. | THE IMPROVEMENT OF HYDROGEN LOADING TIME TO FIBER BRAGG GRATING FABRICATION PRODUCTIVITY IMPROVEMENT [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Phimolphan Rutthongjan | ||
FBG fabrication technology has been quickly developed. The optical
communication business is highly competitive. The FBG productivity improvement is
an optional to drive on this business. The motivation of this research is to improve the
cycle time of hydrogen loading process from hydrogen loading time reduction for
improve FBG productivity. The objective of hydrogen loading process is to enhance
photosensitivity of fiber. However, the side effect of this process is to increase the
refractive index of fiber core. These two effects of hydrogen affect to the quality of
FBG. Therefore, in this research was studied the effect of hydrogen loading time to
FBG parameter. Hydrogen pressure was controlled at 13 MPa. Hydrogen loading time
were varied at 48, 72, 120, and 192 hours. The standard deviation of FBG parameter
were considered to be a judgment factor. All of hydrogen loading time were accepted
by judgment from the standard deviation of each FBG parameter. However, the
average of writing time in case of hydrogen loading time at 48 hours was fluctuation
more than 72 hours. Therefore, Hydrogen loading time at 72 hours was the best of
hydrogen loading time that can improve FBG productivity, as well as, sustain a
quality of FBG.
Full Text : Download! |
||
9. | การประยุกต์ใช้ท่อความร้อนแบบสั่นชนิดวงรอบที่มีวาล์วกันกลับ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนระบบปรับอากาศรถยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปิยะนุช บุญญโส | ||
งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้งานท่อความร้อนแบบสั่นชนิดวงรอบที่มีวาล์วกันกลับ
(CLOHP/CV) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายความร้อนจากคอนเดนเซอร์ของระบบปรับอากาศ
รถยนต์ ท่อความร้อนทำมาจากท่อคาปิลลารี่ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 2.03 มิลลิเมตร ขดไป
มาเป็นแผงแบบวงรอบโดยมีความยาวส่วนทำระเหย ส่วนกันความร้อน และส่วนควบแน่น เท่ากันที่
100 mm ติดตั้งวาล์วกันกลับจำนวน 1 ตัว ภายในบรรจุสารทำงาน R-134a ที่อัตราการเติม 50%
ของปริมาตรท่อทั้งหมด จำนวนโค้งเลี้ยวของท่อ ได้แก่ 4 6 และ 8 โค้งเลี้ยว และมุมเอียงในการ
ทำงาน คือ 0 30 45 และ 60 องศา
ทำการทดลองกับท่อความร้อนโดยให้ความร้อนแก่ส่วนทำระเหยด้วยฮีตเตอร์ไฟฟ้าขนาด
800 W และระบายความร้อนในส่วนควบแน่นด้วยอากาศเย็น จากผลการทดลองพบว่าอุณหภูมิที่ผิว
ของท่อความร้อนทั้งส่วนทำระเหยและควบแน่นเพิ่มขึ้นตามจำนวนโค้งเลี้ยว และมุมเอียงในการ
ทำงาน โดยท่อความร้อนจำนวน 8 โค้งเลี้ยว ที่มุมเอียงทำงาน 60 องศา มีค่าอัตราการถ่ายเทความ
ร้อนสูงสุด คือ 3789 W มีค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนเท่ากับ 2149 W/m2·°C และมีค่าความ
ต้านทานทางความร้อนต่ำที่สุด คือ 0.63 °C/kW
จากการติดตั้งท่อความร้อน CLOHP/CV จำนวน 8 โค้งเลี้ยว ที่มุมเอียงทำงาน 60 องศา
กับแผงคอนเดนเซอร์ระบบสาธิตการปรับอากาศรถยนต์ของสถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น พบว่าค่า
สัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP) และอัตราส่วนประสิทธิภาพพลังงาน (EER) ของระบบปรับอากาศที่
ติดตั้งท่อความร้อนมีค่าเพิ่มขึ้นเป็น 6.50 และ 22.16 Btu/h/W ตามลำดับ โดยค่า COP และ EER
เพิ่มจากเดิมถึง 30% ในขณะที่ค่าประสิทธิผลสูงสุดของท่อความร้อนเท่ากับ 0.5 แสดงถึงความ
สามารถของท่อความร้อนแบบสั่นชนิดวงรอบที่มีวาล์วกันกลับในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบาย
Full Text : Download! |
||
10. | การประยุกต์หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์เพื่อประเมินคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าและการทาบัญชีต้นทุนการไหลของวัสดุในกระบวนการผลิตหนังเคลือบสีสำหรับเบาะรถยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สาริศา พานิช | ||
การศึกษานี้มุ่งประเด็นเพื่อศึกษาประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกระบวนการการผลิตหนังเคลือบสีสำหรับเบาะรถยนต์ โดยหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment: LCA) เป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gases: GHGs) จากกระบวนการผลิต โดยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ดังนั้น วัตถุประสงค์สำหรับงานวิจัยนี้ คือการนำหลักการของการประเมินวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ (LCA) และการทำบัญชีต้นทุนการไหลของวัสดุ (Material Flow Cost Accounting: MFCA) เพื่อคำนวณคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Carbon Dioxide Equivalent: CO2e) จากกระบวนการผลิต เพื่อแสดงระดับของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และทำบัญชีต้นทุนการไหลของวัสดุเพื่อวิเคราะห์หากระบวนการที่ก่อเกิดการสูญเสียในรูปของตัวเงิน การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผลได้พบว่า CO2e ที่เกิดจากสิ่งที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สูงถึง 64.32% เมื่อเทียบกับ CO2e จากผลิตภัณฑ์ หลังจากการปรับปรุงกระบวนการ ส่งผลให้ปริมาณ CO2e ที่เกิดจากสิ่งที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ได้ลดลงเป็น 52.27% เมื่อเทียบกับ CO2e จากผลิตภัณฑ์ และจากการทำบัญชีต้นทุนการไหลของวัสดุ พบว่าการสูญเสียต้นทุนสำหรับสิ่งที่ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ได้ลดลงโดยเฉลี่ย 17.67%
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250