fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIM) 2009 |
1. | การประยุกต์ใช้เทคนิค FMEA (Failure Mode and Effect Analysis) ในกระบวนการตรวจสอบขั้นสุดท้ายสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตวงจรรวม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เจี้ยม จันทร์อนันต์ | ||
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และของเสียของกระบวนการตรวจสอบขั้นสุดท้ายสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตวงจรรวม โดยใช้การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบด้านคุณภาพ (Failure Mode and Effect Analysis: FMEA) มาใช้ในการวิเคราะห์และลดของเสียของโรงงานตัวอย่าง
จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อข้อบกพร่องโดยการระดมสมองของทีมงาน ด้วยการใช้แผนผังแสดงเหตุผล การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบด้านคุณภาพสำหรับบกระบวนการผลิต จากนั้นให้ทีมผู้ชำนาญมาวิเคราะห์เพื่อประเมินค่า ความรุนแรง โอกาสการเกิด และโอกาสการตรวจพบของข้อบอกพร่อง เพื่อคำนวณค่าดัชนีความเสี่ยงชี้นำ (RPN) และพบว่ามีปัญหาหลักที่ต้องนำมาพิจารณาแก้ไขก่อน 2 ส่วน คือ 1. กระบวนการติดตั้งเครื่องจักรการโหลดโปรแกรมการตรวจสอบชิ้นงาน ยังใช้พนักงานทำการเลือกโปรแกรมซึ่งอาจเกิดความผลิดพลาดได้ และ 2. การใส่งานเข้าไปในเครื่องจักร ความผิดพลาดในการตรวจสอบมุมตัดของถาดใส่ชิ้นงาน แนวทางในการแก้ไขปัญหา ใช้บาร์โค้ดในการเลือกโปรแกรมโดยการสแกนจากใบงานไปเชื่อมโยงกับระบบของเครื่องตรวจสอบขางาน และการจัดทำเครื่องป้องกันการใส่ถาดผิดทิศทาง โดยอาศัยลักษณะขอบถาดที่มีหัวท้ายที่แตกต่างกัน
ประโยชน์ที่ได้จากการปรับปรุง คือ โรงงานตัวอย่างได้แนวทางของกระบวนการผลิตที่สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพ และมิให้ของเสียเกิดซ้ำอีก ผลการดำเนินการแก้ไข พบว่า 1. กระบวนการทำงานซ้ำได้ ลดลง 50% จาก 20 กรณีต่อเดือน เหลือ 10 กรณีต่อเดือน 2. ลดเวลาของการทำงาน 25% จาก 2 ชั่วโมงต่อชุด เหลือ 1.5 ชั่วโมงต่อชุด 3. ของเสียลดลง 50% จาก 2,6000 ppm เหลือ 1,300 ppm 4. ยอดการผลิตชิ้นงานเพิ่มขึ้น 25% จาก 1,500 ชิ้นต่อโมง เป็น 1,875 ชิ้น ชิ้นต่อชั่วโมง
Full Text : Download! |
||
2. | การประยุกต์ระบบ โมโนซุคุริ ในอุตสาหกรรมไทย กรณีศึกษา โรงงาน เอส เอ็ม อี [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สมพงษ์ พูนลาภทวี | ||
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าและวิจัยวัฒนธรรมองค์กรการผลิตแบบ
“MONOZUKURI” ของญี่ปุ่น มาทำเป็นต้นแบบจำลอง โดยการศึกษาความเป็นไปได้ในการ
ประยุกต์ใช้กับองค์กร SME ในประเทศไทย เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของการประกอบธุรกิจโดย
ใช้แนวทางการสร้างคน และการสร้างความสามารถในการขจัดความสูญเปล่าต่างๆ เพื่อสร้าง
คุณภาพของสินค้า รวมถึงการเพิ่มความสามารถในการผลิต อันนำมาซึ่งการลดต้นทุน และเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการผลิต ในทุกส่วนต่าง ๆ ขององค์กร อีกทั้งเป็นการสร้างขวัญ และ กำลังใจ
ของผู้ปฏิบัติงานในองค์กรนั้น ๆ
การวิจัยนี้ ใช้วิธีจัดทำโมเดลแล้วนำมาทดลองใช้ โดยเลือกโรงงาน SME จำนวน
2 โรงงาน โรงงานที่ 1 เป็นโรงงานผลิตยางอุตสาหกรรม มีพนักงานจำนวน 42 คน โรงงานที่ 2
เป็นโรงงานผลิตผนัง Panel สำหรับห้อง Clean Room มีพนักงานจำนวน 91 คน ผลการวิจัย
พบว่า ในโรงงานที่ 1 พนักงานมีทักษะการทำงานเพิ่มขึ้นทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตจากเดิมได้
ร้อยละ 8 และโรงงานที่ 2 มีทักษะการทำงานเพิ่มขึ้นทำให้สามารถเพิ่มผลผลิตจากเดิมได้
ร้อยละ 7
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250