fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIM) 2010 |
1. | ปัจจัยแห่งความสำเร็จของผลิตภัณฑ์นวัตกรรมในองค์กรนวัตกรรม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อังกูร บุรินทรชาติ | ||
ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเป็นสินค้าหรือบริการใหม่ที่ไม่เคยมีในตลาดมาก่อน หรือพัฒนาขึ้นจากสิ่งที่มีอยู่เดิมและมีจุดเด่นที่แตกต่างไปจากสินค้าเดิมในตลาด ส่งผลให้การพัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเจริญก้าวหน้าขององค์กร องค์กรนวัตกรรมจึงเป็นหนทางที่ทุกองค์กรปรารถนา เพื่อความสามารถในการพัฒนานวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องและทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน
การวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจวรรณกรรมจากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น 40 ผลงานที่เกิดขึ้นภายในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา จนได้ปัจจัยแห่งความสำเร็จต่อการสร้างนวัตกรรมทั้งสิ้น 22 ปัจจัย แล้วนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับปัจจัยในการสร้างองค์กรนวัตกรรมจากผลงานวิจัยที่ได้รวมรวมไว้เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นจึงนำปัจจัยด้านต่างๆที่สังเคราะห์ได้ มาจัดทำเป็นแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และนำไปสัมภาษณ์ผู้บริหารในองค์กรนวัตกรรมจำนวน 3 แห่ง โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งพบว่า ในทางปฏิบัติมีความเห็นในเรื่องปัจจัยแห่งความสำเร็จต่อการสร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกันในภาพรวม หากแต่มีบางปัจจัยที่มีความเห็นสวนทางกันเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานทางวิชาการ ผู้วิจัยจึงสรุปผลพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางเพื่อนำไปบริหารจัดการในองค์กร โดยจัดกลุ่มปัจจัยเป็นหมวดหมู่วิทยาการจัดการเป็น 6 กลุ่ม เพื่อง่ายต่อการนำไปใช้จริง พร้อมทั้งอภิปรายองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยรวมถึงข้อเสนอแนะ เพื่อการต่อยอดงานวิจัยในการสร้างนวัตกรรมให้เกิดขึ้นในองค์กรต่อไป
Full Text : Download! |
||
2. | การพัฒนาแบบจำลองขีดความสามารถตามหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในกระบวนการ เพื่อจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล กรณีศึกษา บริษัท เอบีซี จำกัด [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : หฤทัย เนื่องฤทธิ์ | ||
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะที่จำเป็น รวมทั้งระดับขีดความสามารถที่องค์กรคาดหวังต่อตำแหน่งงานเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในกระบวนการ ให้ สอดคล้องกับรายละเอียดในคำบรรยายลักษณะงาน เพื่อประเมินช่องว่างขีดความสามารถ และจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล วิธีการออกแบบขีดความสามารถกระทำโดยการวิเคราะห์งาน และการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง โดยแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลจะจัดทำเฉพาะผู้ที่ผลการประเมินช่องว่างความสามารถต่ำกว่าระดับที่คาดหวัง เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบประเมินขีดความสามารถ และแบบแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล
ผลการวิจัยพบว่า ขีดความสามารถในงานของเจ้าหน้าที่ฝึกอบรมในกระบวนการมีจำนวน 5 ตัว ประกอบด้วย 1. ทักษะการตรวจสอบสภาพผิวภายนอกของผลิตภัณฑ์ 2. ทักษะการสื่อสารด้วยวาจา 3. การทำงานเป็นทีม 4. ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการผลิต และ 5. จิตสำนึกด้านคุณภาพ เมื่อนำผลการประเมินหาช่องว่างขีดความสามารถของแต่ละบุคคลมาจัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคล ทำให้ได้แผนพัฒนาที่มีความสอดคล้องต่อลักษณะงาน และระดับความสามารถปัจจุบันของแต่ละบุคคล โดยในแผนพัฒนานี้ได้กำหนดรายการ ขีดความสามารถที่จำเป็นต้องพัฒนา พฤติกรรมที่คาดหวัง เครื่องมือหรือกิจกรรมการพัฒนา ระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด ผู้รับผิดชอบ ผลลัพธ์ที่ต้องการ และกำหนดเวลาในการทบทวนแผน อีกทั้งมีการกำหนดรายการเครื่องมือการพัฒนาแยกตามแต่ละระดับความสามารถ ทำให้สามารถเลือกใช้เครื่องมือพัฒนาความสามารถได้เหมาะสมตามระดับความสามารถปัจจุบันของแต่ละบุคคล
Full Text : Download! |
||
3. | การทำนายเวลาเสร็จสิ้นของโครงการและการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโครงการ ให้ตรงเวลา ด้วยเทคนิคการทำเหมืองข้อมูล สำหรับธุรกิจห้องปฏิบัติการทดสอบ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ณัฐพล สีขา | ||
เนื่องจากความไม่แน่นอนในการวางแผนโครงการเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยทั่วไปเวลาต้นทุน และทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการวางแผนการผลิตและการกำหนดเวลาส่งมอบงานแก่ลูกค้า ดังนั้นความไม่แน่นอนและส่วนเบี่ยงเบนของปัจจัยดังกล่าวจึงจำเป็นต้องได้รับการพิจารณา งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์สำหรับกำหนดกรอบการทำงานเพื่อลดค่าความเบี่ยงเบนและความไม่แน่นอนในการวางแผนและกำหนดระยะเวลาโครงการสำหรับห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน โดยใช้เทคนิคโครงข่ายประสาทเทียม และการทำเหมืองข้อมูล ภายใต้กระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้แบบ CRISP-DM ผ่านโปรแกรมสำเร็จรูปด้านเหมืองข้อมูล SPSS PASW Modeler ฉบับทดลองใช้ ตัวแบบการทำเหมืองข้อมูลถูกสร้างขึ้นเพื่อทำนายเวลาทั้งหมดที่ใช้ในโครงการและเพื่อค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโครงการให้ตรงเวลา จากผลการวิจัยการทำนายเวลาเสร็จสิ้นของโครงการ พบว่าตัวแบบจำลองมีค่าความคลาดเคลื่อน 8-11 วัน ซึ่งเป็นระดับที่บริษัทสามารถยอมรับได้เมื่อเปรียบเทียบกับการทำนายเวลาโดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความคลาดเคลื่อน 21-30 วัน และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโครงการให้ตรงเวลา คือ ความซับซ้อนของโครงการและทักษะเจ้าหน้าที่เทคนิค โดยค่าความซับซ้อนของโครงการในระดับที่มากขึ้น และค่าทักษะเจ้าหน้าที่เทคนิคในระดับที่น้อยลง ส่งผลกระทบทำให้โครงการเกิดความล่าช้า
Full Text : Download! |
||
4. | การวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า ด้วยวิธีการทำเหมืองข้อมูล กรณีศึกษา ธุรกิจห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐาน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : เพชรลดา จงพิทักษ์ธรรม | ||
เพื่อให้ธุรกิจสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาสำคัญที่หลาย ๆ องค์กรประสบ คือ การทำอย่างไรให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าจากความสัมพันธ์ที่ซ่อนอยู่ในข้อมูลการขายและการตลาดของห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานแห่งหนึ่งในช่วงพ.ศ. 2550 ถึง 2551 ภายใต้กระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้แบบ CRISP-DM ผ่านโปรแกรม SPSS PASW Modeler โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบ RFM ร่วมกับเทคนิคการทำเหมืองข้อมูลแบบรวมกลุ่มด้วยอัลกอริทึม SOM และ K-Means เพื่อจัดกลุ่มลูกค้าตามความคล้ายคลึงของพฤติกรรม จากนั้นหากฎความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้บริการและแผนส่งเสริมการขาย ต่าง ๆ ของลูกค้าในแต่ละกลุ่มด้วยอัลกอริทึม Apriori พบว่ามีกฎความสัมพันธ์ที่น่าสนใจหลายกฎที่องค์กรไม่ทราบมาก่อน เช่น ลูกค้าในกลุ่มที่ 5 ซึ่งใช้บริการการขอใบอนุญาตผลิตภัณฑ์กับหน่วยงานมาตรฐานซาอุดิอาระเบีย หรือใช้บริการการทดสอบด้านความปลอดภัยสาหรับยื่นขอการรับรองจากหน่วยงานมาตรฐานซาอุดิอาระเบีย เลือกแผนส่งเสริมการขายประเภท E องค์กรสามารถนำผลวิจัยที่ได้ไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการนำเสนอแผนส่งเสริมการขายที่เหมาะสมแก่ลูกค้าในแต่ละกลุ่ม หรือใช้ประกอบการตัดสินใจวางแผนกลยุทธ์ด้านการขายและการตลาด
Full Text : Download! |
||
5. | การศึกษาประสิทธิภาพของระบบควบคุมเครื่องยนต์ ขณะรอบเดินเบาของรถยนต์ขนาด 1,000 ซีซี ถึง 1,500 ซีซี โดยวิธีการเทียบเคียง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : สราวุฒิ ปิ่นจันทร์ | ||
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการควบคุมความเร็ว
รอบเดินเบาของเครื่องยนต์รถยนต์ขนาด 1,000 ซีซี ถึง 1,500 ซีซี ในประเทศไทย เพื่อให้ได้มา
ซึ่งข้อมูลที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบบควบคุมความเร็วรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ตัวอย่าง โดย
ทำการเทียบเคียงเครื่องยนต์ที่ใช้ระบบการจัดการเครื่องยนต์ที่แตกต่างกัน ทั้งหมด 3 แบบ คือ
การจัดการเครื่องยนต์แบบ D-Jetronic L-Jetronic และแบบที่ใช้ทั้ง D-Jetronic ร่วมกับ LJetronic
การทดลองได้แบ่งออกเป็น 16 หัวข้อตามปัจจัยและสภาวะที่ส่งผลกระทบต่อการ
ควบคุมรอบเดินเบาโดยใช้ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพมาทำการเปรียบเทียบกันในเชิงวิเคราะห์ คือ
ค่าเฉลี่ยของความเร็วรอบ ( N ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของความเร็วรอบ ( ) ค่าความผิดพลาด
ของความเร็วรอบจากค่าเป้าหมาย ( ) Overshoot, Undershoot และ Track Time ซึ่งผลการ
เทียบเคียงพบว่าเครื่องยนต์ J ซึ่งมีการจัดการแบบ D-Jetronic ได้คะแนนมากที่สุดคือ 35 จาก
41 คะแนนหรือ 85.4% โดยเครื่องยนต์ J สามารถควบคุมความเร็วรอบได้ดีที่สุด จึงได้ใช้
เครื่องยนต์ J เป็นหลักในการวิเคราะห์เทียบเคียงสำหรับการพัฒนาปรับปรุงเครื่องยนต์ตัวอย่าง
โดยสามารถสรุปได้ทั้งหมด 3 หัวข้อ คือ 1. ประสิทธิภาพในการตอบสนองที่รวดเร็วของการ
ชดเชยปริมาณอากาศเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของโหลดในสภาวะต่างๆ จะทำให้สามารถควบคุม
รอบเดินเบาได้ดี ซึ่งประสิทธิภาพในการตอบสนองสามารถปรับปรุงได้โดยการวางตำแหน่ง
เซ็นเซอร์วัดปริมาณอากาศให้ใกล้เครื่องยนต์มากยิ่งขึ้น เป็นต้น 2. การชดเชยปริมาณอากาศ
หลังเหยียบคันเร่งไปที่รอบปานกลางและรอบสูงที่มีลักษณะขึ้นไปที่รอบเป้าหมายทันทีจะทำให้
ค่า Tracktime มีค่าน้อยกว่าการชดเชยในลักษณะเป็นขั้นบันได 3. ขนาดของแบตเตอรี่แล
Full Text : Download! |
||
6. | ปัจจัยที่ส่งเสริมผู้ประกอบการโรงงานผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทดแทนโลหะบัดกรีผสมสารตะกั่วด้วยโลหะบัดกรีไร้สารตะกั่ว [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธีระยุทธ เพ็งจันทร์ | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการใช้โลหะบัดกรีไร้สารตะกั่วแทน
โลหะบัดกรีผสมสารตะกั่วของผู้ประกอบการโรงงานผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการวิจัย
เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) แบบวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดย
ดำเนินระเบียบวิธีวิจัยแบบสำรวจวรรณกรรม (Literature Review) ได้รวบรวมข้อมูลจาก
ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ตำรา เอกสารงานวิจัย รวมทั้งเอกสารวิชาการ ทั้งในประเทศ
และต่างประเทศจำนวน 34 เรื่อง
การศึกษาพบว่า ปัจจัยส่งเสริม ได้แก่ ปัจจัยด้านกฎระเบียบข้อบังคับ ปัจจัยด้าน
ผู้ส่งมอบ ปัจจัยด้านลูกค้า ปัจจัยด้านการจัดการ และปัจจัยด้านการจัดซื้อ
จากนั้นทำการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อยืนยันปัจจัยส่งเสริมที่ได้จากผลการศึกษาข้างต้น
นี้ โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกใช้โลหะบัดกรีไร้สารตะกั่วหรือพนักงาน
วิศวกรผู้ทำหน้าที่ทดสอบคุณภาพโลหะบัดกรีไร้สารตะกั่วของบริษัทหรือผู้บริหารระดับสูง
ผู้ควบคุมดูแลการประกอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์จำนวน 5 ท่าน จากการศึกษาพบว่า
ได้รับการยืนยันปัจจัยส่งเสริมทุกปัจจัยดังกล่าวข้างต้นและได้รับการเน้นน้ำหนักปัจจัย
ด้านลูกค้าในระดับสูงกว่าหรือหนักแน่นกว่าที่ได้รับจากการศึกษาข้อมูลทางวิชาการซึ่งได้ศึกษา
โดยการทบทวนวรรณกรรมดังกล่าวข้างต้น
ในส่วนท้ายของรายงานวิจัยนี้ได้นาเสนอปัจจัยที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ กฎระเบียบ
สิ่งแวดล้อมยังไม่ครอบคลุมทุกประเภทผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการควบคุม
กระบวนการผลิตนอกจากนั้นอุปสรรคอื่น ได้แก่ ด้านต้นทุนและด้านคุณภาพ
Full Text : Download! |
||
7. | การประยุกต์ใช้แบบจำลองในกระบวนการจ่ายสินค้าปูนซีเมนต์ถุงโดยโปรแกรมอารีนา กรณีศึกษา โรงงานผลิตปูนซีเมนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วชิราพร หาญนาแซง | ||
การวิจัยนี้ได้มุ่งเน้นการนำเทคนิคการจำลองสถานการณ์มาประยุกต์ใช้ในการจำลองกระบวนการจ่ายสินค้าปูนซีเมนต์ถุงของบริษัทผู้ประกอบการผลิตซีเมนต์แห่งหนึ่ง เพื่อศึกษาและพัฒนาทางเลือกในกระบวนการจ่ายสินค้าปูนซีเมนต์ถุง ชนิด A ให้เกิดความเหมาะสมตามสถานการณ์จริงของรถที่จะเข้ารับสินค้า เนื่องจากสินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่มียอดจำหน่ายสูงสุดซึ่งเวลาที่ใช้ในกระบวนการจ่ายสินค้าให้กับลูกค้าใช้เวลานานมากจนมีผลต่อระดับการบริการที่ลูกค้าได้รับ การดำเนินการจำลองสถานการณ์ได้ทำการศึกษากระบวนการ ตั้งแต่ลูกค้าเข้ามาถึงโรงงาน ผ่านกระบวนการลงทะเบียน ชั่งน้ำหนักรถเบา เข้ารับสินค้าและชั่งน้ำหนักรถหนัก จนกระทั่งลูกค้าออกจากบริเวณโรงงานซึ่งแบบจำลองที่สร้างขึ้นได้ถูกพัฒนาบนโปรแกรม Arena Version 7 ผลจากการตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของแบบจำลองที่สร้างขึ้นพบว่า แบบจำลองสามารถสะท้อนเหตุการณ์และเวลาที่เกิดขึ้นจริงของกระบวนการจ่ายสินค้า โดยจะต้องเพิ่มช่องจ่ายถึง 17 ช่อง ในกะที่ 3 ลดจำนวนช่องจ่ายเหลือ 4 ช่อง ในกะที่ 1 และเพิ่มช่องทางการรับสินค้าแบบเตรียมสินค้าไว้บนพาเลท จำนวน 2 ช่อง ในกะที่ 3 โดยทางเลือกทั้ง 3 สามารถตอบสนองเวลาการให้บริการที่อยู่ภายใต้ 160 นาที
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250