fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIM) 2011 |
1. | การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันโดยประยุกต์ใช้กลยุทธ์ซิกซ์ ซิกมา กรณีศึกษาโรงงานประกอบชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชาญชัย กระแสร์ | ||
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง มีการแข่งขันที่รุนแรงด้านความจุ ความเร็วและต้นทุนต่อหน่วย ประกอบกับคู่แข่งมีศักยภาพการแข่งขันในด้านคุณภาพสูง ทาให้บริษัทกรณีศึกษามีส่วนแบ่งตลาดลดลง เนื่องจากมีระดับคุณภาพที่ต่ากว่าคู่แข่ง ส่งผลให้ต้องสร้างกลยุทธ์ เพื่อพัฒนาระบบคุณภาพ ดังนั้นวัตถุประสงค์ ของงานวิจัย คือการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันด้านคุณภาพ ผ่านกระบวนการบริหาร กลยุทธ์ โดยการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ซิกซ์ ซิกมา เป้าหมายคือเพิ่ม Rolled Throughput Yield ให้มากกว่า 92%
ขั้นตอนการศึกษาเริ่มจากศึกษาปัญหา ณ ปัจจุบัน จากนั้นวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน เพื่อนาข้อสรุปที่ได้มาสร้างกลยุทธ์ระดับองค์กร กลยุทธ์ระดับธุรกิจ กลยุทธ์ระดับหน้าที่ จากนั้นนากลยุทธ์ไปปฏิบัติและขั้นตอนสุดท้ายคือ การประเมินและควบคุมกลยุทธ์ โดยในขั้นตอนการสร้างกลยุทธ์ในแต่ละระดับได้ประยุกต์ใช้แนวคิดของกลยุทธ์ซิกซ์ ซิกมา เป็นกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
การเลือกกลยุทธ์แต่ละระดับ เพื่อตอบสนองนโยบายที่มุ่งการเติบโต ได้แก่ 1. กลยุทธ์ระดับองค์กร เลือกกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การพัฒนาบุคลากร 2. กลยุทธ์ระดับธุรกิจ เลือกกลยุทธ์การตอบสนอง และ 3. กลยุทธ์ระดับหน้าที่ เลือกกลยุทธ์การวิจัยและพัฒนาและกลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
สำหรับแนวทางในการประยุกต์ใช้กลยุทธ์ซิกซ์ ซิกมา ในแต่ละระดับของกลยุทธ์ คือ การมุ่งพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ การพัฒนาบุคลากรและการดาเนินกลยุทธ์ในระดับหน้าที่ตาม 5 ขั้นตอนหลัก ซึ่งประกอบด้วย Define Measure Analysis Improve และ Control โดย การเพิ่มเป้าหมาย Rolled Throughput Yield ควบคู่กับ Overall Yield
ผลการศึกษาพบว่า การนำกลยุ
Full Text : Download! |
||
2. | ขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษา อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชุมพล ชิติธำรงกุล | ||
การศึกษาขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์
นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีของขีดความสามารถที่จำเป็นของบุคลากรด้าน
โลจิสติกส์ และเพื่อกำหนดรายการขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับ
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้
ข้อมูลที่มีอยู่แล้วและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่มีการยืนยันจาก
หลายๆ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนความถูกต้องของข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดย
ทำการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ
และบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
ผลการศึกษาพบว่า ขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในความคิดเห็น
ของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมมีความเห็นที่สอดคล้องกันใน
ด้านการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม ความรู้ด้านเทคโนโลยีต่างๆ การใช้วิธีการ
แบบการบริการรับเหมา การมีความคิดสร้างสรรค์และปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา
ขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การศึกษายังค้นพบ
ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ประกอบด้วย ปัญหาด้านบุคลากร
ในการเรียนรู้ และการปรับตัว แรงจูงใจ การสร้างมุมมองและการผลักดันการก้าวสู่เศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ยังไม่ชัดเจน การขาดเทคโนโลยีที่มาสนับสนุนในการพัฒนาสู่การเป็นเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ การขาดงบประมาณในการอบรมบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ การขาดความชัดเจน
เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์และชิ้นส่วน การสนับสนุนจากองค์กร
และการให้ความสำคัญในด้านโลจิสติกส์ยังมี
Full Text : Download! |
||
3. | การพัฒนาธุรกิจจากกากอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ กรณีศึกษา กากส้มและกากฝรั่ง [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : กัญจน์พร อริยเลิศปัญญา | ||
ในปีหนึ่งๆ มีกากของเสียประเภทกากผลไม้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
มากกว่า 400,000 ตัน ซึ่งต้องกำจัดและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการวิจัย
นี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากกากผลไม้โดยการ
หมักเป็นสารบำรุงดินและพัฒนาเป็นธุรกิจ ในการศึกษานี้ได้ทำการทดลองหาวิธีหมักกากผลไม้
เป็นสารบำรุงดิน โดยการนำกากผลไม้จากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำผลไม้บรรจุขวดแห่งหนึ่งมา
ใช้ในการทดลอง และใช้เฉพาะกากส้มและกากฝรั่ง โดยนำกากแต่ละชนิดมาผสมกับมูลวัว
ขี้เถ้าแกลบ และใช้สารเร่ง พ.ด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ ควบคุมความชื้นที่ ร้อยละ 40 50 และ 60 ตามลำดับ แล้วแยกบรรจุใน
กระสอบพลาสติกสาน เก็บไว้ในที่ร่มติดตามประสิทธิภาพการหมักด้วยการวัดอุณหภูมิทุก 24
ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่ การทดลองทำ 3 ซ้ำ แล้วเก็บตัวอย่างจากกระสอบที่เหมาะสมส่งตรวจ
วิเคราะห์คุณภาพที่ห้องปฏิบัติการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนการหา
ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเชิงธุรกิจ ค่าที่นำมาใช้ในการพิจารณาคือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
ระยะเวลาคืนทุน และอัตราผลตอบแทนโครงการ
ผลการวิจัยพบว่าทั้งกากส้มและกากฝรั่งสามารถหมักเป็นสารบำรุงดินได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยกากส้มควรหมักด้วยความชื้นร้อยละ 50 และกากฝรั่งควรหมักด้วยความชื้น
ร้อยละ 40 ส่วนการบ่มควรใช้ระยะเวลาประมาณ 16 วัน ผลการวิเคราะห์คุณภาพที่ได้เมื่อเทียบ
กับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร (2549) กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ พบว่าอยู่ในเกณฑ์คุณภาพตามมาตรฐานดังกล่าว ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ใน
การพัฒนาเป็นธุรกิจนั้นพบว่า ต้องใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 7 ล้านบาท กำลังการผลิต
2.5 ตันต่อวันใน
Full Text : Download! |
||
4. | การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สอนเสริมในการฝึกอมรมภาคปฏิบัติ ระบบคัมบังและระบบการผลิตแบบดึง ด้วยวิธีจำลองสถานการณ์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ธรรมศักดิ์ ธุถาวร | ||
ในการฝึกอบรมระบบคัมบังและระบบการผลิตแบบดึงของรายวิชาการผลิตแบบโตโยต้า รหัสวิชา IMA-710 ตามหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีไทย–ญี่ปุ่น มีเนื้อหาซับซ้อนยากต่อการอธิบายของวิทยากรเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจ ดังนั้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิผล จึงต้องใช้การฝึกอบรมภาคปฏิบัติด้วยเทคนิคการจำลองสถานการณ์โดยใช้อุปกรณ์โมเดลจำลอง แต่อุปกรณ์ชุดโมเดลจำลองมีข้อจำกัดที่มีรูปร่างตายตัว ไม่สามารถปรับจำนวนช่องและรอบเวลาดึงตามสถานการณ์จำลองที่เปลี่ยนไป ทำให้การเรียนการสอนไม่ครอบคลุมรูปแบบของระบบดึง ในเนื้อหาวิชา IMA-710
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สอนเสริมในการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ระบบคัมบังและระบบการผลิตแบบดึงด้วยวิธีจำลองสถานการณ์ ผลของงานวิจัยสามารถให้ประสิทธิผลของการเรียน โดยคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนที่นัยทางสถิติที่ 0.05
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250