fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIM)2012 |
1. | การศึกษาความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมเอทานอลไทย [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อาภาพร ขุนอ่อน | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม เอทานอลไทยและสร้างแนวทางการพัฒนาและเสนอกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการอุตสาหกรรมเอทานอลเพื่อเอทานอลเป็นพลังงานทดแทนที่ยั่งยืนของประเทศไทย
โดยวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันโดยใช้ทฤษฎี Diamond Model ตามองค์ประกอบทั้ง 5 ปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยด้านตลาด ปัจจัยภาครัฐบาล ปัจจัยการผลิต ปัจจัยอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และกลยุทธ์การแข่งขัน เป็นกรอบในการศึกษาและจัดทำแบบสอบถามเรียงลำดับปัจจัยเพื่อหาน้ำหนักของแต่ละปัจจัย และสัมภาษณ์เพื่อหารายละเอียดแยกแยะจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค โดยใช้ SWOT Analysis และ TOWS Matrix ในการจัดทำข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์
จากเก็บข้อมูลแบบสอบถามพบว่า ผู้ประกอบการให้ความสำคัญปัจจัยด้านตลาด 31.11% ปัจจัยภาครัฐบาล 24.44% ปัจจัยการผลิต 21.11% ปัจจัยอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง 12.78% และกลยุทธ์การแข่งขัน 10.56% ซึ่งปัจจัยด้านตลาดเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญอันดับ 1 และจากการสัมภาษณ์พบสาเหตุจากปัญหาด้านความต้องการเอทานอลในประเทศน้อยกว่าปริมาณการผลิตของเอทานอล ทำให้เกิดสภาพภาวะล้นตลาดเนื่องจากผู้ประกอบได้เข้ามาลงทุนหลังจากแผนการส่งเสริมและนโยบายจากภาครัฐบาลยังไม่สามารถผลักดันส่งเสริมให้ปริมาณการใช้ยังไม่เพิ่มได้ตามแผนนโยบาย ซึ่งประเทศไทยมีจุดแข็งมีด้านวัตถุดิบกากน้ำตาลและมันสำปะหลังที่มากเพียงพอและราคาวัตถุดิบค่อนข้างต่ำ ประกอบกับตำแหน่งที่ตั้งประเทศไทยเหมาะสมต่อการส่งออก จุดอ่อน คือ วัตถุดิบจากพืชการเกษตรจะมีผลผลิตตามฤดูกาล ขาดบุคลากรที่มีความรู้ และประเทศไทยไม่มีเทคโนโลยีต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โอกาสของอุตสาหกรรม กระแสภาวะโลกร้อน รัฐบาลส่งเสริมการลงทุน ให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีนำเข้าเครื่องจักร และจัดทำแ
Full Text : Download! |
||
2. | ปัจจัยแห่งความสําเร็จในการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา อุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : พัลลภ พิมพ์อ่อน | ||
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสําเร็จในการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Supply Chain Management: GSCM) ในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศของประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ สําหรับการวิจัยเชิงคุณภาพได้ศึกษาปัจจัยโดยการสํารวจผลงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของต่างประเทศในช่วง พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2555 โดยวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณได้ศึกษาปัจจัยโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งมี 24 ข้อคําถามของปัจจัยใน 8 ด้านสําคัญ คือ Green Procurement, Green Manufacturing, Green Distribution, Green Reverse Logistics, Information, Organization, Customer และ Government ที่ได้จากผลการวิจัยเชิงคุณภาพดังกล่าวข้างต้น แบบสอบถามจํานวน 23 ฉบับได้รับการตอบกลับจากผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องในโซ่อุปทานของบริษัทตัวอย่างในอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศ โดยวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และได้ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลยืนยันในความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยแห่งความสําเร็จในการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสังเคราะห์แนวทางเชิงวิชาการรวมถึงแนวทางเชิงการปฏิบัติ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับตัวแทนบริษัทในกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามดังกล่าวข้างต้นที่ประสบความสําเร็จในการจัดการโซ่อุปทานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผลการศึกษาพบว่า มีปัจจัยแห่งความสําเร็จใน GSCM 15 ปัจจัย ได้จัดรวบรวมเป็นปัจจัยหลักเป็น 5 หมวด คือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมขององค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Organization Involvement) ปัจจัยด้านความสามารถขององค์กรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Organization Com
Full Text : Download! |
||
3. | การศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จในการกำหนดกลยุทธ์การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร : กรณีศึกษา อุตสาหกรรมปั๊มขึ้นรูปของอุตสาหกรรมยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : วัชระ นิลนพรัตน์ | ||
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบสำรวจวรรณกรรม และการวิจัยเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จของการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในเชิงการบริหารจัดการ เพื่อศึกษากลยุทธ์ในระดับที่สำคัญขององค์การ โดยเริ่มด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบสำรวจวรรณกรรมได้รวบรวมผลงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยแห่งความสำเร็จ ของการปรับเปบี่ยนเครื่องทั้งสิ้น 30 ฉบับ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์แก่นสาระ โดยสามารถแบ่งปัจจัยทั้งหมด 20 ปัจจัย ต่อจากนั้น ดำเนินการวิเคราะห์ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเฉพาะด้านบริหารจัดการโดยใช้กลยุทธ์ทั้ง 3ระดับเป็นเป้าหมาย ได้นำเสนอปัจจัยแห่งความสำเร็จภายใต้การดำเนินกลยุทธ์ละระดับ
จากนั้นนำปัจจัยดังกล่าวข้างต้นมาออกแบบแบบสัมภาษณ์ชนิดกึ่งโครงสร้าง เพื่อนำไปสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างองค์การในอุตสาหกรรมยานยนต์ ของอุตสารหกรรมปั๊มขึ้นรูปจำนวน 5 องค์การ โดยเจาะจงเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ คือ ผู้บริหารผู้กำหนดกลยุทธ์ในระดับต่าง ๆ กระจายทั่วทุกระดับ องค์การละ 4 ท่าน รวมทั้งหมด 20 ท่าน เพื่อศึกษาความสอดคล้องความขัดแย้งระหว่างปัจจัยจากทางวิชาการกับจากทางปฏิบัติ และระหว่างปัจจัยของต่างประเทศกับปัจจัยของประเทศไทยย ได้นำเสนอสิ่งที่ค้นพบใหม่จากงานวิจัยนี้ เป็นปัจจัยที่เพิ่มขค้นเฉพาะปัจจัยที่ได้จากทางปฏิบัติ
ผลวิจัยสามารถค้นพบประเด็นความสอดคล้องกับ เพียงแต่ในทางปฏิบัติจะมุ่งเน้นในกิจกรรม เพื่อผลักดันในองค์การเป็นผู้นำด้านต้นทุนต่ำ โดยไม่พบประเด็นใหม่เพ่ิมเติมของกลยุทธ์ระดับองค์การ แต่พบประเด็นใหม่เพิ่มเติมของกลยุทธ์ระดับธุรกิจ และกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ และพบประเด็นควมขัดแย้งด้านแนวคิดของผู้บิรหารระดับล่างผู้กำหนดกลยุทธ์ระดับปฏิบัติการ ระหว่างฝ่ายสนับสนุนการผลิต และฝ่ายผลิ
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250