fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIM) 2014 |
1. | การจัดเส้นทางเดินรถรับกลุ่มตัวอย่าง กรณีศึกษา โรงพยาบาลนครปฐม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ศิริลักษณ์ อเนกบุญลาภ | ||
การจัดเส้นทางเดินรถรับกลุ่มตัวอย่างจากโรงพยาบาลที่อยู่ภายใต้การดูแลของโรงพยาบาลนครปฐม เป็นการจัดเส้นทางที่มีเป้าหมายเพื่อหาเส้นทางในการเดินรถที่เหมาะสมที่สุด มีระยะทางรวมในการเดินทางน้อยที่สุด เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการขนส่งแปรผันตรงกับระยะทางรวมของการเดินทาง ดังนั้นหากจัดเส้นทางเดินรถได้มีระยะทางรวมยิ่งน้อย จะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการเดินทางน้อยตามไปด้วย ในงานวิจัยฉบับนี้ใช้หลักการแก้ไขปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถ (Vehicle Routing Problem: VRP) ที่เป็นปัญหาแบบ Non-deterministic Polynomial Time (NP-HARD) โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในการหาคำตอบ ด้วยกระบวนการหาคำตอบเริ่มต้นจากวิธีปมข้างเคียงที่ใกล้ที่สุด (Nearest Neighbors Algorithm) จากนั้นนำเส้นทางที่ได้มาปรับปรุงด้วยกระบวนการเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm) และระบบอาณานิคมมด (Ant Colony System) จากผลการทดสอบสามารถเปรียบเทียบการจัดเส้นทางที่มีจำนวนโรงพยาบาลเท่ากันและสถานที่เดียวกันทำให้พบว่าการหาคำตอบเริ่มต้นจากวิธีปมข้างเคียงที่ใกล้ที่สุดและนำมาปรับปรุงเส้นทางด้วยกระบวนการเชิงพันธุกรรมสามารถทำให้ระยะทางรวมน้อยลงถึง 11.94 กิโลเมตร โดยเฉลี่ยหรือคิดเป็น 7.12% เมื่อเทียบกับการหาคำตอบเริ่มต้นจากวิธีปมข้างเคียงที่ใกล้ที่สุดและนำมาปรับปรุงด้วยระบบอาณานิคมมด และเทียบเคียงกับการปรับปรุงด้วยกระบวนการเชิงพันธุกรรมและระบบอาณานิคมมด การปรับปรุงเส้นทางด้วยระบบอาณานิคมมดสามารถหาคำตอบได้รวดเร็วกว่าการหาคำตอบแบบกระบวนการเชิงพันธุกรรมถึง 12.3 วินาที หรือ 2.3 % โดยเฉลี่ย
Full Text : Download! |
||
2. | กลยุทธ์การออกจากกับดักรายได้ปานกลาง กรณีศึกษา ประเทศไทย มาเลเซีย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : คุณัณญา ปรินจิตร์ | ||
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวิเคราะห์ SWOT ของประเทศที่ติดกับดักรายได้ปานกลาง และศึกษากลยุทธ์การหลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลางของประเทศไทย มาเลเซีย และเวียดนาม โดยใช้ TOWS Matrix โดยมุ่งหวังเพื่อการพัฒนาโดยใช้กลยุทธ์จากการศึกษาเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและเอกชน ผลจากการศึกษา พบว่า ประเทศไทย มีลักษณะเด่นด้านภูมิปัญญา การแพทย์แผนไทยและการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ภาครัฐจึงควรสนับสนุนผู้ประกอบการไทยเพื่อพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาเลเซีย มีลักษณะเด่น คือ การเป็นชาติมุสลิมที่มีนวัตกรรมการพัฒนา ประกอบกับภาครัฐให้ความสำคัญทางศาสนา กระแสสังคมโลกที่มุ่งเน้นสุขอนามัยที่สะอาด จึงควรยกระดับการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมฮาลาลเวียดนามเป็นประเทศเปิดใหม่ มีลักษณะเด่นด้านทรัพยากรทางธรรมชาติที่มีความอุดมสมบูรณ์ นอกจากความร่วมมือกับบริษัทต่าง ๆ ที่ร่วมลงทุนในภาคการผลิตเพื่อสร้างการพัฒนาในประเทศแล้ว อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็เป็นอุตสาหกรรมโดดเด่นของเวียดนามที่จะสามารถดึงดูดเงินตราเข้าประเทศเพื่อการพัฒนาต่อไป อย่างไรก็ตาม การศึกษาเชิงกลยุทธ์มักมีความเห็นที่แตกต่างกันทั้งจากความคิดพื้นฐานหรือการสังเคราะห์จากการอ่านที่แตกต่างกัน แต่ทั้งนี้การเล็งเห็นปัญหาและร่วมกันหากลยุทธ์เพื่อพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางย่อมเป็นประโยชน์เพื่อสร้างทางเลือกให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปปฏิบัติ ทั้งนี้งานวิจัยจะมีประโยชน์มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการนำไปปฏิบัติของหน่วยงานทีมอำนาจดำเนินการ
Full Text : Download! |
||
3. | การดำเนินงานแยกศูนย์ต้นทุนตามความรับผิดชอบ กรณีศึกษา บริษัทผลิตรถจักรยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นฤมล คำบุตรดี | ||
การจัดทำสารนิพนธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการควบคุมต้นทุนและการลดค่าใช้จ่าย
ในกระบวนการผลิตของแต่ละไลน์การผลิตและแต่ละศูนย์ต้นทุนในกระบวนการผลิตโดยละเอียด
รวมถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อต้นทุนและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุม
การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและเป็นข้อมูลสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหารในการประเมิน
ประสิทธิภาพการทำงานของแต่ละส่วนงาน
จากการศึกษาข้อมูลของแผนกแมชชีนนิ่งเหล็กพบว่า ในแผนกแมชชีนนิ่งเหล็ก
ประกอบไปด้วยแผนกที่ทำการผลิตส่วนประกอบต่างๆ ของรถจักรยานยนต์ออกเป็น 7 แผนก
ตามโครงสร้างขององค์กรแต่มีการใช้ศูนย์ต้นทุนในการคำนวณต้นทุนผลิตเพียง 4 ศูนย์ต้นทุน
ทำให้ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระบบบัญชีนั้นไม่ถูกต้องเนื่องจากมีแผนก 4 แผนกที่ใช้ศูนย์
ต้นทุนเดียวกัน ผู้ศึกษาได้นำข้อมูลมาทำการวิเคราะห์และระบุกิจกรรมตามขั้นตอนของระบบต้นทุน
ฐานกิจกรรมโดยมีการกำหนดความรับผิดชอบตามหน่วยงานที่เรียกว่า ศูนย์ความรับผิดชอบ
(Responsibility Center) ของแผนกแมชชีนนิ่งโดยใช้ศูนย์ต้นทุน (Cost Center) เป็นตัวระบุ
กิจกรรม ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของการปฏิบัติงานที่มีวัตถุประสงค์ของการทำงานอย่างชัดเจน
เป็นขบวนการเก็บรวบรวมข้อมูล สรุปและรายงานผลการดำเนินงานตามหน่วยงานที่รับผิดชอบ
หลังจากทำการปรับปรุง พบว่าการกำหนดศูนย์ต้นทุนให้กับแผนกต่างๆ ในฝ่ายแมชชีนนิ่ง
ออกเป็นหน่วยย่อยตามหน่วยงานที่รับผิดชอบในการผลิตสินค้าแต่ละชนิดส่งผลให้จากเดิม
แผนกแมชชีนนิ่งซึ่งมีส่วนงานทั้งหมด 7 ส่วนงานมีศูนย์ต้นทุนที่ใช้4 ศูนย์ต้นทุน เมื่อทำการ
เคราะห์และระบุกิจกรรมใหม่ทำให้แผนกแมชชีนนิ่งเหล็กมีส่วนงานเพิ่มขึ้นเป็น 9 ส่วนงาน และ
มีศูนย์ต้นทุน 9 ศูนย์ต้นทุนแยกออกจากกันอย่างชัดเจน
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250