fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIM) 2015 |
1. | A STUDY OF A HAPPY WORKPLACE IN AN OIL & GAS COMPANY [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : Carlo Bertini | ||
Despite happy workplace was essential to all companies, little of Thai’s
literatures had been found to study about happy workplace in oil & gas companies. An
oil & gas company could be considered as a multidisciplinary-work organization where
challenging work, time constrain, safety, technical knowledge, management, and even
more were as same as many other industries. So this research had aimed to find
happy workplace factors which help create a happy workplace in an upstream Thai
National Oil & Gas Company and how to manage the obtained happy workplace
factors. A quantitative and qualitative method, questionnaire and interview, were used
to confirm the factors based on literature reviews. 378 samples were obtained from
2,167 employees working in the company, and leading personnel were interviewed,
exploratory factor analysis and the interview data were used to group the factors,
concluding in 6 factors creating a happy workplace with management guideline:
Company’s policy, Fairness, Trust and Respect, Job satisfaction, Company’s Culture,
and Leadership.
Full Text : Download! |
||
2. | การวิเคราะห์ความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรณีศึกษา กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ชยาภรณ์ มงคลเสรีชัย | ||
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความแม่นยำของแบบจำลองการวิเคราะห์ภาวะ
ความล้มเหลวทางการเงิน โดยการวิเคราะห์ฐานะทางการเงินจากอัตราส่วนทางการเงินสำหรับ
บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยใช้
เทคนิคการวิเคราะห์จากแบบจำลอง EM Score Model ซึ่งเป็นทฤษฎีการพยากรณ์ภาวะความ
ล้มเหลวทางการเงินของ Altman และการวิเคราะห์แนวโน้มจากอัตราส่วนทางการเงิน เพื่อที่จะ
สามารถคาดการณ์แนวโน้มที่กิจการจะประสบปัญหาทางการเงินในอนาคต(ภาวะล้มละลาย) อัน
ประโยชน์สำหรับผู้เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อาทิเช่น นักลงทุน ผู้บริหาร รวมไปถึงผู้ที่มี
ส่วนเกี่ยวข้องกับกิจการนั้นๆ ในการวิเคราะห์และประเมินสถานภาพของบริษัทเกี่ยวกับปัญหา
ด้านการเงินที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งประกอบการวางแผนในการดำเนินงานและการ
ตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจหรือการลงทุน
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยข้อมูลจากงบการเงินของบริษัทใน
อุตสาหกรรมยานยนต์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและทำการซื้อขาย
หลักทรัพย์ ในรายปี2552-2557 จำนวน 19 บริษัท
ผลการศึกษาพบว่า ค่าคะแนนมาตรฐาน (EM-Score) จากการคำนวณตามทฤษฎีการ
พยากรณ์ความล้มเหลวของ Altman บริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์แห่งประเทศไทยส่วนใหญ่นั้นถูกจัดอยู่ในกลุ่ม Safe Zone คิดเป็นร้อยละ 85.08 ของ
จำนวนประชากร กล่าวคือ บริษัทกลุ่มนี้ไม่มีความเสี่ยงในต่อการภาวะล้มละลายในปีหรือสองปี
ข้างหน้าอย่างแน่นอน อีกทั้งเมื่อทดสอบระดับความถูกต้องจากการวิเคราะห์กับสถานะปัจจุบัน
ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ พบว่า แบบจำลองการพยากรณ์
ภาวะความล้มเหลวทางการเงินของ Altman
Full Text : Download! |
||
3. | ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับหัวหน้างานฝ่ายผลิต [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : นาฏอนงค์ เดชจินดา | ||
การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับหัวหน้างาน
ฝ่ายผลิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานระดับ
หัวหน้างานฝ่ายผลิต โดยแบ่งเป็น 1) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ แผนก อายุ ระดับการศึกษา
ระดับเงินเดือน และระยะเวลาการปฏิบัติงาน 2) ปัจจัยองค์กร 6 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านระเบียบ
ปฏิบัติขององค์กร ปัจจัยด้านพื้นฐานหรือคุณภาพชีวิต ปัจจัยด้านงาน ปัจจัยด้านผลการ
ปฏิบัติงาน ปัจจัยด้านหัวหน้างาน และ ปัจจัยด้านชื่อเสียงขององค์กร ซึ่งความผูกพันต่อองค์กร
มีทั้งหมด 3 ด้าน คือ การกล่าวถึงองค์กรในเชิงบวก การเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และการมุ่งมั่น
และทุ่มเทในการทำงาน โดยการแจกแบบสอบถาม จำนวน 110 ชุด ให้กับกลุ่มตัวอย่างและนำ
ข้อมูลกลับมาวิเคราะห์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS และใช้สถิติการคำนวณพื้นฐาน โดยใช้
ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-
Way ANOVA) และการทดสอบความสัมพันธ์ของข้อมูลด้วย Pearson Correlation
ผลจากการศึกษาพบว่าหัวหน้างานฝ่ายผลิตของบริษัทกรณีศึกษา ส่วนใหญ่มีระดับ
ความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับที่เห็นด้วยมากต่อปัจจัยองค์กรทั้ง 6 ด้าน และ มีระดับความ
ผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับสูงทั้ง 3 ด้าน ซึ่งปัจจัยส่วนบุคคลด้านแผนก อายุ และระยะเวลาการ
ปฏิบัติงานไม่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กร มีเพียงปัจจัยด้านระดับการศึกษาและระดับ
เงินเดือนที่ต่างกันมีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรแตกต่างกัน ส่วนปัจจัยองค์กรทั้ง 6 ด้านล้วน
แล้วแต่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานทั้งสิ้น
Full Text : Download! |
||
4. | การศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการกับการเปลี่ยนแปลงของ มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 จากฉบับที่ 2008 ไปเป็นฉบับที่ 2015 [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ปวันรัตน์ บุตรธนู | ||
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความพร้อมของผู้ประกอบการกับการเปลี่ยนแปลงของมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 จากฉบับที่ 2008 ไปเป็นฉบับที่ 2015 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 2 กลุ่มๆละ 5 ราย กลุ่มที่ 1 คือผู้ประกอบการที่ได้รับการรับรองระบบ ISO 9001:2008 และกลุ่มที่ 2 คือผู้ให้การรับรองระบบ ISO 9001
ความพร้อมที่ทาการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 ความพร้อมด้านองค์การ 3 ด้าน ได้แก่ ด้านบุคลากร การบริหารจัดการ และการเงิน ผลการศึกษาพบว่า จากการรับรู้ถึงข้อมูลข่าวสารล่วงหน้าของการเปลี่ยนแปลง ทำให้องค์การมีการจัดเตรียมบุคลากรผู้รับผิดชอบ มีการวางแผนการดำเนินงาน และมีการจัดเตรียมงบประมาณเพื่อการฝึกอบรมพนักงานและการขอรับรองระบบไว้เรียบร้อย
ส่วนที่ 2 ความพร้อมของระบบบริหารคุณภาพขององค์การกับประเด็นหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 4 ประเด็น จากการวิเคราะห์ช่องว่างองค์การเพื่อประเมินความพร้อมโดยการเปรียบเทียบการดำเนินงานด้านการบริหารคุณภาพ ณ ปัจจุบันกับข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพและประเด็นที่ผู้ให้การรับรองระบบมุ่งเน้น พบว่า (1) เรื่องความเข้าใจบริบทองค์การ และ (2) เรื่องความเข้าใจความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ปัจจุบันมีเพียงการพิจาณาเพียงแค่ปัจจัยด้านลูกค้าเท่านั้น ยังขาดการพิจารณาให้ครอบคลุมถึงปัจจัยภายในและภายนอก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับวัตถุประสงค์องค์การ สำหรับองค์การที่มีการนำ TQA มาประยุกต์ใช้ มีการปฏิบัติที่ครอบคลุมตามข้อกำหนด (3) เรื่องการปฏิบัติการเพื่อจัดการความเสี่ยงและโอกาส สิ่งที่องค์การวิเคราะห์ความเสี่ยงอยู่ ณ ปัจจุบันเป็นเรื่องของการประเมินความปลอดภัยหรือการเกิดอุบัติเหตุในองค์การ
Full Text : Download! |
||
5. | การบริหารโครงการสร้างอุปกรณ์จับยึดชิ้นงานสำหรับงานเชื่อมด้วยแขนกล [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : ภูวนาถ ธัญญผล | ||
การวิจัยในครั้งนี้ ได้มุ่งเน้นศึกษาการบริหารโครงการการสร้างอุปกรณ์จับยึดชิ้นงาน
สำหรับงานเชื่อมด้วยแขนกลโดยการศึกษาการบริหารโครงการในสภาพปัจจุบันของสถาน
ประกอบการ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ แล้วนำมาเปรียบเทียบกับคู่มือแนวทางเกี่ยวกับองค์ความรู้
ในการบริหารโครงการ (สมาคมสถาบันบริหารโครงการ แชพเตอร์ ประเทศไทย. 2557) แปลมา
จาก A Guide to the Project Management Body of Knowledge (PMBOK Guide) ซึ่งเป็น
รูปแบบการบริหารโครงการอย่างเป็นระบบ โดยพิจารณาตามกลุ่มกระบวนการทั้ง 5 กลุ่ม ซึ่ง
ประกอบด้วยกลุ่มกระบวนการเริ่มต้น (Initiating Process Group) กลุ่มกระบวนการวางแผน
(Planning Process Group) กลุ่มกระบวนการดำเนินงาน (Executing Process Group) กลุ่มกระบวนการ
ติดตามและควบคุม (Monitoring and Controlling Process Group) และกลุ่มกระบวนการปิด
โครงการ (Closing Process Group) โดยใช้ขอบเขตองค์ความรู้ทั้ง 10 องค์วามรู้ของการบริหาร
โครงการ ได้แก่ การบูรณาการ(Integration) ขอบเขต(Scope) เวลา(Time) ต้นทุน (Cost) คุณภาพ
(Quality) บุคลากร (Human Resource) การติดต่อสื่อสาร (Communication) ความเสี่ยง (Risk)
การจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) โดยแยกการปฏิบัติงาน
เป็นกระบวนการบริหารโครงการ (Project Management Process) ออกเป็น 47 กระบวนการ
ซึ่งมีการระบุปัจจัยการนำเข้า เครื่องมือและเทคนิคและผลลัพธ์ ที่ใช้ในการบริหารโครงการ การ
วิจัยครั้งนี้ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญและการศึกษาการปฏิบัติงานจริงแล้วนำมา
เปรียบเทียบกับกระบวนการบริหารโครงการทั้ง 47 กระบวนการของการบริหารโครงการแบบ
PMBOK Guide ผลการวิจัยที่ได้ในครั้งนี้แสดงเป็นร้อยละของการปฏิบัติตามหัวข้อที่
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250