fieldjournalid
![]() | วิทยานิพนธ์ (MIM) 2016 |
1. | การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมโค้ชลีนภายในองค์การบนพื้นฐานสมรรถนะ [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : อังสนา กลิ่นพิพัฒน์ | ||
การพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานเพื่อปรับเปลี่ยนไปสู่องค์การลีนมีต้นทุนซึ่งต้องใช้
ทรัพยากรของบริษัทเป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของแนวคิดการศึกษามาตรฐานสมรรถนะของ
โค้ชลีน เพื่อนำมาพัฒนาเป็นหลักสูตรฝึกอบรมโค้ชภายในองค์การบนพื้นฐานสมรรถนะด้วย
ขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรบนพื้นฐานสมรรถนะ 5 ขั้นตอน คือ 1. กำหนดมาตรฐานสมรรถนะ
โค้ชลีน 2. พัฒนาหลักสูตร 3. ทดลองใช้หลักสูตร 4. ฝึกอบรมหลักสูตร และ 5. ประเมิน
ประสิทธิผลหลักสูตร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นแบบเจาะจง 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหาร, ที่ปรึกษา
และหัวหน้าโค้ชลีน จำนวน 6 คน เพื่อการกำหนดมาตรฐานสมรรถนะโค้ชลีน ด้วยการสัมมนา
กลุ่ม (Focus Group) กลุ่มหัวหน้าโค้ชลีนจำนวน 5 คน เพื่อทดลองใช้หลักสูตร และกลุ่มโค้ชลีน
จำนวน 16 คน เพื่อเข้าฝึกอบรมหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความ
เหมาะสมของหลักสูตร (แบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ), แบบประเมินความสอดคล้องด้วย
ดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ด้านหัวข้อเนื้อหา, วัตถุประสงค์ และแบบทดสอบ และแบบทดสอบ
การเรียนรู้แบบปรนัย เพื่อหาประสิทธิผลของหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย และ
ทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลียด้วย Paired T-test
มาตรฐานสมรรถนะรวมทั้งสิ้น 21 สมรรถนะ ได้ถูกกำหนดขึ้น และนำมาใช้ในการ
พัฒนาศักยภาพของโค้ชลีนให้สามารถฝึกอบรมและสอนงานแก่พนักงานในการนำระบบการ
ผลิตแบบลีนไปปรับปรุงสายการผลิต มีหัวข้อเนื้อหาทั้งสิ้น 34 บทเรียน ประกอบด้วย โครงสร้าง
หลักสูตร และแบบทดสอบ ผลการประเมินหลักสูตรการฝึกอบรมโค้ชลีนภายในองค์การ สรุปได้
ว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมมาก จากค่าความเหมาะสมรวมเฉลี่ย 4.3 และมีความสอดคล้อง
มากทั้ง 3 ด้านในทุกรายการ ได้แก่มาตรฐานสมรรถนะมีความสอดคล้องกับหัว
Full Text : Download! |
||
2. | การศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุทางตรงและทางอ้อมของโฆษณาทรูวิวอินสตรีมบนยูทูบที่ส่งผลต่อคุณค่าของตราสินค้าและความสนใจในการซื้อของประชากรในจังหวัดกรุงเทพมหานคร [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : จักรพันธ์ เตชะอภัยคุณ | ||
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุของทัศนคติต่อโฆษณาทรูวิว
อินสตรีมแบบสามารถข้ามได้และไม่สามารถข้ามได้บนเว็บไซต์ยูทูบทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยศึกษาอิทธิพลเชิงสาเหตุทางตรงที่ส่งผลต่อความสนใจในการซื้อ และอิทธิพลเชิงสาเหตุ
ทางอ้อมที่ผ่านคุณค่าของตราสินค้าใน 4 มุมมอง จากแนวคิดคุณค่าตราสินค้าของ David A.
Aaker เป็นตัวแปรขั้นกลาง ได้แก่ การรู้จักตราสินค้า การรับรู้ในคุณภาพ ความภักดีในตราสินค้า
และความผูกพันกับตราสินค้า ด้วยการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ผ่านโปรแกรม LISREL
จากการกลุ่มตัวอย่างผู้ที่เคยดูวีดีโอและเคยพบเห็นโฆษณาบนเว็บไซต์ยูทูบจากกลุ่มผู้ที่พบเห็น
โฆษณาแบบข้ามได้ และ โฆษณาแบบข้ามไม่ได้ กลุ่มละ 180 ตัวอย่าง
ผลวิจัยพบว่าค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลของทัศนคติต่อโฆษณาทรูวิวอินสตรีมแบบข้ามได้
ที่มีต่อคุณค่าของตราสินค้า ได้แก่ การรู้จักตราสินค้า ความผูกพันกับตราสินค้า การรับรู้ใน
คุณภาพและความภักดีในตราสินค้าเท่ากับ 0.67, 0.92, 0.72 และ 0.80 ตามลำดับ โดยอิทธิพล
ทางตรงต่อความสนใจในการซื้อเท่ากับ -0.28 อิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.98 และอิทธิพลรวม
เท่ากับ 0.70 แต่จากการทดสอบสมมติฐานพบว่าไม่มีอิทธิพลทางตรงแต่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อ
ความสนใจในการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านความภักดีต่อตราสินค้าเท่านั้นโดยมีค่าเท่ากับ 0.83
ในส่วนของค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลของทัศนคติต่อโฆษณาทรูวิวอินสตรีมแบบข้าม
ไม่ได้ที่มีต่อคุณค่าของตราสินค้าได้แก่ การรู้จักตราสินค้า การรับรู้ในคุณภาพความภักดีในตรา
สินค้า และ ความผูกพันกับตราสินค้าเท่ากับ 0.40, 0.82, 0.58 และ 0.81 ตามลำดับโดยอิทธิพล
ทางตรงต่อความสนใจในการซื้อเท่ากับ -0.26 อิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.90 และอิทธิพลรวม
เท่ากับ 0.64 แต่จาก
Full Text : Download! |
||
3. | การเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร (OEE) ในกระบวนการผลิตฝาหม้อหุงข้าว [แสดงบทคัดย่อ] [ซ่อนบทคัดย่อ] | |
ผู้แต่ง : มาลัย เปาะจิ | ||
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตฝาหม้อ
หุงข้าวรุ่น E2 ของสายการผลิต M79 ด้วยการเพิ่มประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร ผู้วิจัย
ดำเนินการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 6 เดือนเพื่อค้นหาและวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา จากนั้น
ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะเวลา 9 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2558 ถึงเดือนมีนาคม
2559 โดยใช้เทคนิควิศวกรรมอุตสาหการ ประกอบด้วย เครื่องมือ 7QC Tools เทคนิค Why-
Why Analysis การบำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรอย่าง
รวดเร็ว (SMED) และการศึกษาการทำงาน ดำเนินการวัดผลสำเร็จจากค่าประสิทธิผลโดยรวม
ของเครื่องจักรในด้านความพร้อมใช้งาน ด้านสมรรถนะการเดินเครื่องจักร และด้านอัตรา
คุณภาพของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้กำหนดค่าเป้าหมายไว้ที่0.92 0.95 และ 0.98 ตามลำดับ และเกณฑ์
เป้าหมายของประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรเท่ากับร้อยละ 85
ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการปรับปรุง เครื่องจักรมีค่าเฉลี่ยในด้านความพร้อมใช้
งานและด้านสมรรถนะเท่ากับ 0.96 และ 0.96 ตามลำดับ ด้านอัตราคุณภาพของฝาหม้อหุงข้าว
รุ่น E2 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.98 โดยประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรเฉลี่ยมีค่าเท่ากับร้อยละ
90.60 และค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรสูงสุดร้อยละ 96.05 เกิดขึ้นในเดือนธันวาคม
2558 ผู้วิจัยได้นำผลการศึกษาไปจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของกระบวนการผลิตฝาหม้อหุงข้าว
รุ่น E2 ในสายการผลิต M79 และขยายผลการปรับปรุงกับสายการผลิตอื่นต่อไป
Full Text : Download! |
||
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250