fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การออกแบบระบบและการจัดการการใช้แบตเตอรี่ร่วมกันของรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อการขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯ : วิกฤตการณ์ทางด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานในปัจจุบันถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่
กระตุ้นให้คนหันมาสนใจที่จะใช้พลังงานสะอาดและมีประสิทธิภาพเพื่อการขนส่งสาธารณะ
รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าน่าจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจแต่ก็ต้องมาประสบกับปัญหาในเรื่องของ
ระยะเวลาในการประจุแบตเตอรี่ที่ค่อนข้างยาวนาน โดยระยะเวลาที่ใช้ในการประจุแบตเตอรี่แบบ
ตะกั่วกรดปัจจุบันอยู่ที่ 6-8 ชั่วโมง ทำให้เกิดเป็นข้อจำกัดต่อผู้ใช้งาน และด้วยสาเหตุนี้เอง อาจเป็น
ปัจจัยที่ทำให้การใช้รถจักรยานยนต์เพื่อการขนส่งสาธารณะหรือวินมอเตอร์ไซค์ไม่เป็นที่นิยม
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบเกณฑ์ปัจจัยพื้นฐานที่มีจะต้อง
สามารถตอบสนองต่อการใช้งานจริงได้ของผู้ขับขี่จักรยานยนต์เพื่อการขนส่งสาธารณะว่ามีความ
เป็นไปได้เพียงใดที่จะเปลี่ยนมาใช้รถจักรยานยนต์ไฟฟ้าเป็นรถขนส่งสาธารณะทั้งในด้านเทคนิค และ
ความคุ้มค่าต่อการลงทุน
การทำแบบสอบถามมุ่งความสนใจไปที่รถจักรยานยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีจำนวน
รถจักรยานยนต์ให้บริการต่อวินที่ 10-20 คัน ทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยทำการเก็บข้อมูล
แบบสอบถามจำนวน 400 ตัวอย่าง ซึ่งผลจากการเก็บข้อมูลแบบสอบถามนี้เองที่ใช้เป็นข้อมูลในการ
ออกแบบการจำลองสถานีประจุแบตเตอรี่ และการเข้ามาใช้บริการของผู้โดยสารในโปรแกรม ARENA
SIMULATION ซึ่งจะทำให้เห็นถึงประสิทธิภาพการใช้งานของแบบจำลองที่สร้างในโปรแกรม ARENA
ว่าจะตอบสนองต่อความต้องการการใช้บริการได้ดีเทียบเท่ารถจักรยานยนต์รับจ้างแบบเดิมได้หรือไม่
และมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
56 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250