fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การพัฒนาโฟมพอลิยูรีเทนในกระบวนการฉีดแบบทำปฏิกิริยา : งานวิจัยชิ้นนี้ทำเพื่อแก้ปัญหาข้อบกพร่องในกระบวนการผลิตพอลิยูรีเทนโฟม หรือ PU
Foam โดยวิจัยอิทธิพลของคุณสมบัติของสารตั้งต้นพอลิออลเรซิน (Part A) อาทิ สัดส่วนผสมสารเติม
แต่งแคลเซียมคาร์บอเนต ระยะเวลาการเก็บรักษาพอลิออลเรซิน และเงื่อนไขการผลิตโฟมพอลิยูรี
เทนที่ใช้เป็นส่วนประกอบของข้อต่อไส้กรองอากาศรถยนต์ ในกระบวนการเครื่องฉีดแบบทำปฏิกิริยา
(Reaction Injection Molding : RIM) ที่มีปัญหาผิวหน้าโฟมลอก ผิวย่นยุบยิบ ไม่เรียบมัน มี
ฟองอากาศที่ผิวหน้าผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่ทั้งแบบผิวปิดและผิวเปิด โดยตัวแปรที่สนใจศึกษา ได้แก่
อุณหภูมิผิวแม่พิมพ์20, 30, 40, 50 และ 60oC ปริมาณสารตัวเติมแคลเซียมคาร์บอเนตร้อยละ 10,
20, 30, 40, 50 และ 60 โดยน้ำหนัก และระยะเวลาการเก็บพอลิออลเรซิน 0, 5 และ 14 วัน โดย
วิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรดังกล่าวต่อระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยา ความแข็งและความยืดหยุ่น
สภาพการเกิดข้อบกพร่อง สภาพสัณฐานวิทยา การกระจายขนาดและความหนาแน่นของเซลล์โฟม
ผลวิจัยแสดงว่าอุณหภูมิระดับ 30oC เหมาะสมที่สุดสำหรับกระบวนการ RIM ในขณะที่
สัดส่วนการเติมแคลเซียมคาร์บอเนตไม่มีผลต่อข้อบกพร่องและระยะเวลาการเกิดปฏิกิริยาแต่มีผลทำ
ให้ความหนืดและความแข็งเพิ่มขึ้น โดยอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมควรอยู่ในช่วงร้อยละ 20-40 โดย
น้ำหนัก สภาพสัณฐานวิทยาจากการตรวจวัดด้วยด้วยเครื่องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด
(Scanning Electron Microscope : SEM) แสดงผลลักษณะของเซลล์โฟมเป็นวงกลมขนาด
สม่ำเสมอทุกตำแหน่งการตรวจวัด ยกเว้นตำแหน่งขอบของโมลด์ที่มีลักษณะเป็นวงรี การเพิ่มขึ้นของ
อุณหภูมิในช่วง 20-50๐C ส่งผลให้ฟองหรือเซลล์โฟมที่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้นเฉลี่ยจาก 70-160 m และ
เนื้อของพอลิยูรีเทนนิ่มขึ้น ผลจากการเติม CaCO3 เพิ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
98 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250