fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษาตัวแปรต่างๆของตัวรับรู้แบบฮอลล์เอฟเฟคในการวัดระยะชิ้นงาน : งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของความหนาของชิ้นงาน และระยะใกล้ขอบของชิ้นงานที่มีผล ต่อการวัดระยะ เมื่อใช้ตัวรับรู้ฮอลล์เอฟเฟคที่ในการวัดระยะชิ้นงาน เพื่อนำตัวรับรู้นี้ไปพัฒนาสร้าง Checking fixture แบบไม่สัมผัส โดยการสร้างตัวรับรู้นี้จะใช้อุปกรณ์คือ Hall-effect Sensor แม่เหล็กและเหล็กตัวนำมาประกอบกันเป็นตัวรับรู้ (Sensor) ค่าระยะที่ได้จากตัวรับรู้จะอยู่ในรูป ความต่างศักย์ (Vout) และเพื่อให้ได้ช่วงความต่างศักย์ที่มากพอในการวัดด้วยระบบคอมพิวเตอร์จึง ต้องนำความต่างศักย์จากตัวรับรู้มาขยายสัญญาณแล้วจึงนำสัญญาณที่ได้ไปวัด ในการวิจัยนี้ได้แบ่ง การทดลองออกเป็น 3 กรณีคือ กรณีที่ 1 เป็นการทดลองหาเสถียรภาพการทำงานของชุดอุปกรณ์ ทั้งหมดภายใต้เงื่อนไขค่าความผิดพลาดของการวัดระยะไม่เกิน ±5% และอุณหภูมิภายนอกอยู่ในช่วง 25-30°C กรณีที่ 2 เป็นการทดลองผลกระทบเนื่องจากการเปลี่ยนความหนาของชิ้นงาน โดยใช้ชิ้นงาน หนา 1, 2, 3, 4 และ 5 มิลลิเมตรและกรณีที่ 3 เป็นการทดลองผลกระทบเนื่องจากการระยะระหว่าง ตัวรับรู้กับขอบชิ้นงาน (ระยะ e) เป็นการศึกษาเพื่อหาตำแหน่งติดตั้งตัวรับรู้ใกล้ขอบที่สุดที่ไม่ส่งผล กระทบต่อการวัดค่า สำหรับกรณีที่ 2 และกรณีที่ 3 มีเงื่อนไขค่าความผิดพลาดของการวัดระยะไม่เกิน ±10% จากผลวิจัยพบว่าเพื่อให้ได้เสถียรภาพการทำงานของตัวรับรู้ จะต้องจ่ายไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ อิเล็คทรอนิคก่อนนำตัวรับรู้นี้ไปทำการวัด อย่างน้อย10 นาทีในการศึกษากรณีที2 พบว่าต้องใช้ สมการความสัมพันธ์ระหว่างระยะ D กับความต่างศักย์เฉพาะตามความหนาชิ้นงานที่ทำการวัด และมี ค่าความไม่แน่นอนในการวัดสูงสุดเท่ากับ ±0.048 มิลลิเมตร และกรณีที่ 3 ผลของระยะห่างระหว่าง ตัวรับรู้กับขอบชิ้นงาน (ระยะ e) นั้นมีความสัมพันธ์กับระยะห
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
62 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม