fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ผลกระทบของการดูดซึมความชื้นต่อสมบัติทางกลของวัสดุผสมพอลิเอไมด์ : ในการศึกษานี้ได้ทำการศึกษาผลกระทบของการดูดซึมความชื้นต่อสมบัติทางกลของวัสดุผสมพอลิเอไมด์เสริมแรงใยแก้ว โดยทำการเตรียมวัสดุผสมพอลิเอไมด์เสริมแรงด้วยใยแก้วชนิดสั้นที่ส่วนผสมที่แตกต่างกัน (0, 10, 20 and 30% wt.) เพื่อศึกผลกระทบของการดูดซึมความชื้อต่อสมบัติทางกลของวัสดุจึงทำการเตรียมลิ้นงานมาตรฐานได้และแช่ในน้ำกลั่นเป็นเวลา 60 วัน ทำการชั่งน้ำหนักของชิ้นงานหลังจากแช่น้ำกลั่นในแต่ละวันเพื่อหาปริมาณความชื้นที่ดูดซึมในชิ้นงาน จากนั้นทำการทดสอบการดึงและการต้านทางการโค้งงอตามมารฐาน ASTM D638-02a และ AST< D790-02 ตามลำดับ นอกจากนี้ได้ทำการศึกษาผลของการดูดซึมความชื้นต่อโครงสร้างทางจุลภาคของวัสดุผสมด้วย
จากการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งการดูดซึมความชื้นของวัสดุผสมพอลิเอไมด์เสริมแรงใยแก้วได้เป็น 4 ช่วง ได้แก่ (I) ช่วงเริ่มต้น (1-7 วัน) (II) ช่วงที่ 2 (8-24 วัน) (III) ช่วงที่ 3 (25-35 วัน) และ (IV) ช่วงอิ่มตัว (36-60 วัน) โดยความแข็งแรง ณ จุดคราก (Yield Strengh) ความแข็งแรงสูงสุด (Ultimate Tensile Strength) และความแข็งแรงต่อการโค้งงอ (Flexural Strength) ของทุกชิ้นงานลดลงอย่างชัดเจนในช่วงเริ่มต้นของการดูดซึมความชื้น และพบว่าสมบัติทางกลดังกล่าวมีค่าเกือบคงที่หลังจากนั้น ส่วน Modulus of Elasticity ของชิ้นงานมีค่าลดลงในช่วงเริ่มต้นและช่วงอิ่มตัว นอกจากนี้เปอร์เซ็นต์การยืดตัว (%Elongation) ของชิ้นงานไม่มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงเริ่มต้นอย่างไรก็ตามเปอร์เซ็นต์การยืดตัวลดลงอย่างชัดเจนในช่วงที่ 3 แต่หลังจากนั้นมีค่าเกือบคงที่ จากผลการวิเคราะห์โครงสร้างทางจุลภาคชี้ให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสมบัติจากสภาพเปราะเป็นสภาพเหนียวหลังจากการดูดซึมความชื้นส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกลของของวัสดุผสมพอลิเอไมด์เสริมแรงใ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
76 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250