fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การขจัดของเสียที่เข้าสู่กระบวนการผลิตเครื่องยนต์เรือ : กรณีศึกษา บริษัท ไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัดการขจัดของเสียที่เข้าสู่กระบวนการผลิตเครื่องยนต์เรือ : กรณีศึกษา บริษัท ไทยซูซูกิ มอเตอร์ จำกัด : โครงงานสหกิจศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการการตรวจสอบชิ้นส่วนเครื่องยนต์เรือที่รับมาจากผู้จัดส่งวัตถุดิบ (Supplier) (QC Incoming) โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มชิ้นส่วนประกอบย่อย (Semi part) มีการนำหลักทฤษฎีคิวซีสตอรี่ (QC Story) มาใช้ในการศึกษา เริ่มตั้งแต่การกำหนดหัวข้อปัญหา ทำความเข้าใจสถานการณ์ ตั้งเป้าหมาย วิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาด้วยเครื่องมือแผนผังสาเหตุและผลหรือแผนผังก้างปลาและทฤษฎี Why-Why Analysis ในการทำแผนมาตรการแนวทางการแก้ไขปัญหาและนำมาสร้างมาตรฐานในการทำงานการตรวจสอบต่อไป
จากการศึกษาพบว่า จำนวนของเสียที่เปนกลุ่มชิ้นส่วนประกอบย่อยหลุดเข้าไปในกระบวนการการผลิตเครื่องยนต์เรือในปี 2557 มีทั้งหมด 2,827 PPM หรือคิดเปนร้อยละ 99 ของจำนวนของเสียทั้งหมด จากการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาพบว่า ข้อมูลการตรวจสอบที่ใช้เปนมาตรฐานการตรวจสอบมีความซับซ้อนและเอกสารบันทึกการตรวจสอบชิ้นส่วนไม่สมบูรณ์ ส่งผลให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจสอบชิ้นส่วนก่อนที่จะส่งไปยังกระบวนการถัดไป จึงเกิดแนวคิดแก้ไขปัญหาโดยการจัดทำเอกสารการตรวจสอบ (Inspection check sheet) ขึ้น ซึ่งข้อมูลในเอกสารจะคำนึงถึงความง่ายในการดูและอ่านทำความเข้าใจ ชัดเจน เพื่อลดความสับสนให้กับพนักงานตรวจสอบ จากการทดลองใช้เอกสารการตรวจสอบที่จัดทำขึ้นใหม่ในช่วงเดือนมกราคม 2558 เปนเวลา 1 เดือน พบว่า จานวนของเสียที่หลุดเข้าไปในกระบวนการการผลิตเครื่องยนต์เรือลดลงถึงร้อยละ 83 เมื่อเทียบกับจำนวนของเสียก่อนการปรับปรุง และนำเอกสารการตรวจสอบส่งขึ้นเลขทะเบียนตามข้อกำหนด ISO 9001:2008 เพื่อเป็นการเพิ่มมาตรฐานการตรวจสอบที่น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
57 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250