fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การลดความสูญเปล่าในกระบวนการจัดส่งโดยการจัดการพาเลทเปล่า : กรณีศึกษา บริษัท อีซูซุ มอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด : จากการศึกษาการทำงานในสายการผลิตรถกระบะ จะมีการขนส่ง PART เพื่อใช้ในการผลิต โดยจะมีการจ่ายเข้าสายการผลิต และการนำพาเลทเปล่าออกจากสายการผลิต แต่ในขั้นตอนการนำเปล่าออกจากสายผลิต รถสามล้อทุกคันจะมีจุดตักพาเลทเปล่าที่ข้างโรงผลิต BODY แต่จะมีรถสามล้อเพียง 2 คัน ที่ยังตักพาเลทเปล่าใน STORE SP-7 ซึ่งทำให้ STORE SP-7 มีจำนวนพาเลทเปล่าที่ต้องมาวางใน STORE SP-7 เป็นจำนวนมาก ทำให้ไม่สามารถปรับพื้นที่เพื่อใช้งาน หรือเพิ่มไลน์การผลิตใหม่ได้ และนับเป็นความสูญเปล่าทางด้านการขนส่งที่จะต้องทำให้ FLOKLIFT ทำงานหลายอย่างขึ้น และยังต้องมีการแบ่งพื้นที่เพื่อจัดเก็บ ซึ่งไม่ได้สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตัวผลิตภัณฑ์เลย และการย้ายจุดตักไม่สามารถทำได้เลยเนื่องจากด้วยระยะทางที่มากขึ้น จึงทำให้เวลาเพิ่มขึ้น จึงทำให้ไม่ทันต่อ Tack time จึงต้องเข้าไปปรับปรุงแก้ไขในส่วนงานของการจัดส่งโดยรถสามล้อให้สามารถย้ายจุดตักได้ทัน โดยที่ไม่ทำให้การผลิตหยุด หรือผลิตได้ต่อเนื่องนั่นเอง
จึงต้องทำการย้ายจุดตัก และลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นจากการใส่พาเลทมาไม่เต็มพาเลททำให้เหมือนกับขนส่งพาเลททั้งรอบเพียงครึ่งเดียว และความสูญเปล่าที่เกิดจากการที่มีกิจกรรมที่ไม่เกิดมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ถึง 2 ที่ทำให้ต้องมีการจัดการและเคลื่อนย้ายกิจกรรมนั้นอยู่เสมอ โดยขจัดความสูญเปล่าทั้ง 2 อย่างให้หมดจากกระบวนการขนส่ง และยังทำให้ได้พื้นที่คืนมาเพื่อสามารถจัด STORE และจนสามารถเพิ่มสายการผลิตใหม่ได้ในอนาคต
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
62 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250