fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สาขารังสิต : การศึกษาแนวทางการพัฒนาโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริม
เทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สาขารังสิต มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความหวังและระดับการรับรู้
จริงของผู้บริโภคในการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาของโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคม
ส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สาขารังสิต เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive
Research) เก็บข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนาม ใช้แบบทดสอบกับกลุ่มประชากร
ตัวอย่างซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-
ญี่ปุ่น) สาขารังสิต จำนวน 224 คน การจัดทำข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เปรียบเทียบ
ระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้จริง โดยใช้ค่าสถิติ Paired-Samples T-Test ผล
การศึกษามีดังนี้ ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไป พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง จำนวน
178 คน คิดเป็นร้อยละ 79.5 มีอายุระหว่าง 16-20 ปี คิดเป็นร้อยละ 43.8 มีระดับการศึกษา
มัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ จำนวน 100 คน คิดเป็นร้อยละ 44.6 รู้จัก
โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) สาขารังสิต จากเพื่อน
บอก จำนวน 82 คน คิดเป็นร้อยละ 36.6 ให้เหตุผลที่เลือกเรียน เพราะเป็นประโยชน์ต่อการ
ทำงาน จำนวน 94 คน คิดเป็นร้อยละ 42 การศึกษาครั้งนี้ พบว่า ระดับความคาดหวังโดยรวมสูงกว่าระดับการรับรู้จริงโดยรวม
และระดับความคาดหวังต่อการศึกษาที่โรงเรียนภาษาและวัฒนธรรม สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี
(ไทย-ญี่ปุ่น) สาขารังสิต ที่อาจเป็นระดับความสำคัญในการดำเนินการพัฒนา เรียงลำดับระดับ
ความคาดหวังของผู้ใช้บริการ จากระดับความคาดหวังมากไปหาระดับความคาดหวังน้อย ดังนี้
ด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ด้านสถานที่ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.37 ด้านกระบวนการ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
70 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250