fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจและความจงรักภักดีของพนักงาน : กรณีศึกษา บริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับความจงรักภักดีของพนักงาน รวมถึง
ความสัมพันธ์ของปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนที่มีต่อความจงรักภักดีต่อองค์กรเพื่อเป็น
ข้อเสนอแนะแนวทางต่อผู้บริหารในการปรับปรุงและเพิ่มความสามารถในการบริหารงานด้าน
ทรัพยากรบุคคลของบริษัทกรณีศึกษา โดยบริษัทกรณีศึกษา เป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
และชิ้นส่วนจักรกลการเกษตรแห่งหนึ่ง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 222 คน จากประชากรซึ่งเป็นบุคลากรของบริษัท
กรณีศึกษาจำนวน 492 คน เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมาน
ได้แก่ Independent Sample T-test One-way ANOVA และ LSD (Least Significant Difference)
ผลการวิจัยพบว่า ระดับแรงจูงใจที่มีต่อปัจจัยจูงใจ ในภาพรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 3.99 ระดับแรงจูงใจที่มีต่อปัจจัยค้ำจุน ในภาพรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67
และระดับแรงจูงใจที่มีต่อความภักดีต่อองค์กร ในภาพรวมอยู่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98
อายุของพนักงาน 40 ปีขึ้นไป มีความจงรักภักดีต่อองค์กร มากกว่ากลุ่มอายุอื่น รายได้มากกว่า
50,000 บาท มีความจงรักภักดีต่อองค์กร มากกว่ากลุ่มรายได้อื่น ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่าง
ปัจจัยจูงใจกับความจงรักภักดี มีความสัมพันธ์เชิงบวกโดยพบว่า ด้านความสำเร็จของงานมี
ความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรมากสุด โดยมีค่าสหสัมพันธ์ .543 และความสัมพันธ์
ระหว่างปัจจัยค้ำจุนกับความจงรักภักดี มีความสัมพันธ์เชิงบวกโดยพบว่าความสัมพันธ์กับ
ผู้บังคับบัญชา มีความสัมพันธ์กับความจงรักภักดีต่อองค์กรมากสุด โดยมีค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน
เท่ากับ .515
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
96 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250