fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การปรับปรุงท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์ด้วยรางลูกกลิ้ง : กรณีศึกษา บริษัท บางกอกไทโยสปริงส์ จำกัด : จากการประเมินท่าทางการทำงานในกระบวนการบรรจุ ด้วยเทคนิค RULA และREBA พบว่าท่าทางการขนถ่ายกล่องชิ้นงานมีความเสี่ยงสูงระดับ 14 แสดงให้ เห็นว่าควรปรับเปลี่ยนท่าทางการทางานโดยทันที โดยพบว่าพนักงานมีการก้มลาตัว เอนตัวไปด้านหน้า มีการย่อเข่าและดึงกล่องชิ้นงาน ลาตัวจะบิดเอียวและโน้มออกด้านข้าง การวางตัวของขาไม่สมดุล ซึ่งเป็นท่าทางที่ไม่เป็นธรรมชาติ ผิดหลักการยศาสตร์อาจส่งผลถึงความผิดปกติของโครงกระดูก และกล้ามเนื้อได้ ภายหลังจากที่ได้ปรับปรุง โดยใช้รางลูกกลิ้งเข้ามาสนับสนุนการทำงาน พบว่าระดับความเสี่ยงของท่าทางการทำงานลดลงเป็นระดับ 4 ซึ่งผลดังกล่าวสอดคล้องกับผลจาก แบบสอบถามภาวะความไม่สบายในการทางาน หลังจากได้ปรับปรุงแล้วพบว่า พนักงานมีความรู้สึกไม่สบายในส่วนไหล่ แขนส่วนบน และหลังส่วนกลาง/ล่างลดลง จาก 8 2 และ 10 ลดลงเป็น 2 2และ 2 ตามลาดับ ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับความเจ็บปวดหรือไม่สบายที่เล็กน้อย แสดงให้เห็นว่าการปรับปรุงรางลูกกลิ้ง เพื่อส่งเสริมการทำงานตามหลักการยศาสตร์สามารถลดความเสี่ยงของท่าทางการทางานได้
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
87
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม