fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ภาวะผู้นำและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ส่งผลต่อความผูกพันธ์องค์กร : กรณีศึกษา ไดเซล กรุ๊ป (ประเทศไทย) : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำสไตล์คนไทยและสไตล์คนญี่ปุ่น 3) ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร 4) การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่ส่งผลต่อความผูกพันต่องค์กร ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ พนักงานไดเซล กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำนวนทั้งสิิ้น 427 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย สถิติที่ใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ สถิติทดสอบ t-test และสถิติไคสแควร์ (Chi-square) ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย ร้อยละ 50.59 เพศหญิง 49.1 เป็นสัญชาติไทย ร้อยละ 97 สัญชาติญี่ปุ่น ร้อยละ 3 ผู้ตอบถามส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี ร้อยละ 52.46 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 63.47 มีระยะเวลาปฏิบัติงานกัลองค์กร 1-5 ปี ร้อยละ 32.70 สังกัดในส่วนงานโรงงาน ร้อยละ 71.19
ผลการศึกษาพบว่าพนักงานมีความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ภาวะผู้นำของผู้บริหารคนไทยและคนญี่ปุ่น ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม และด้านความไว้วางใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ภาวะผู้นำด้านการสื่อสาร และภาวะผู้นำด้านความไว้วางใจ ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ ด้านสรรหาและคัดเลือก ด้านการฝึกอบรมและพัฒนา ด้านการประเมินผลการปฏิบัติงาน ด้านแรงงานสัมพันธ์และด้านการบริหารแบบญี่ปุ่นส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
201 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250