fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษาการกระจายตัวของแรงทางกลในเนื้อเยื่อในฟันที่เกิดจากแรงบดเคี้ยว โดยการสร้างแบบจำลองสามมิติ ด้วยวิธีการวิเคราะห์ทางไฟไนต์เอลิเมนต์ : เนื้อเยื้อในฟันเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของฟัน ซึ่งแรงที่กระทำที่เหมาะสมจะสามารถฟื้นฟูและรักษา เนื้อเยื้อได้ อย่างไรก็ตามไม่สามารถวัดแรงที่กระทำต่อเนื้อเยื้อในฟันได้โดยตรง ซึ่งรูปแบบจำลองในปัจจุบันมีรูป แบบจำลองและขนาดที่ไม่มีความเสมือนจริง งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสร้างรูปแบบจำลอง 3 มิติ ที่มีความ เสมือนจริง โดยอ้างอิงจากภาพถ่าย CT-scan และทำการวิเคราะห์โครงสร้างแบบสถิต โดยใช้ระเบียบวิธีทางไฟ ไนต์เอลิเมนต์ และสร้างรูปแบบจำลองเฉพาะ mandibular first molar เท่านั้นและมีหลายส่วนประกอบเช่น เคลือบฟัน เนื้อฟัน และ เนื้อเยื้อในฟัน เป็นต้น โดยการให้ขอบเขตเงื้อนไขในการวิเคราะห์มี 2 กรณี คือ ในการวิเคราะห์ของฟันกรามที่เป็นปกติ และเกิดรอยร้าวขึ้นบนเคลือบฟันและรอยร้าวลงลึกไปถึงเนื้อฟัน และได้กำหนด แรงกระทำเฉลี่ยเท่ากับ 54.3 MPa ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าแรงบคเคี้ยวโดยเฉลี่ยไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขในกรณี ใดก็ตาม ไม่ทำให้ชิ้นส่วนฟันเกิดความเสียหายหรือเสียรูปถาวร ซึ่งผลจากการวิเคราะห์พบว่าความเค้นที่เกิดขึ้นบน เนื้อเยื่อในฟันมีค่าเพียง 0.0025 MPa ของการวิเคราะห์ในกรณีที่เป็นฟันปกติ และ 0.0029 MPa ของการวิเคราะห์แบบเงื่อนไขที่มีรอยร้าวที่เคลือบฟันและเนื้อฟัน ซึ่งสามารถสรุปได้ว่าแรงที่กระทำลงเนื้อเยื้อในฟันมีค่า น้อยกว่า 1% แรงที่กระทำบนผิวเคลือบฟัน และจากรอยร้าวที่เกิดขึ้นทำให้มีความเค้นที่เพิ่มขึ้น 14% หรือ 4.4 g/cm2 เมื่อเทียบกับการวิเคราะห์ในกรณีที่เป็นฟันปกติ
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
64
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม