fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
เจนเนอเรชั่นและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน (บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี) : การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กร 2) เปรียบเทียบเจนเนอเรชั่นที่มีผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 3) เปรียบเทียบเจนเนอเรชั่นที่มีผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน 4) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานจำนวน 410 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ One Sample T-test One-Way Analysis of Variance (ANOVA) และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจับพบว่า 1) ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรด้านคุณภาพ ด้านปริมาณ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย อยู่ในระดับสูง 2) เจนเนอเรชั่นมีผลต่อประสิทธิภาพในการฏิบัติงานด้านคุณภาพ ปริมาณ ด้านเวลา และด้านค่าใช้จ่าย ไม่แตกต่างกัน 3) เจนเนอเรชั่นมีผลต่อแรงจูงใจด้านปัจจัยจูงใจ/ปัจจัยกระตุ้น ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ด้านความรับผิดชอบ และด้านความก้าวหน้า ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยค้ำจุน ด้านค่าตอบแทนและผลประโยชน์ ด้านนโยบายบริษัทและการบริหาร ด้านความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกันในองค์กร ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน ด้านการควบคุมดูแลของหัวหน้างาน และด้านความมั่นคงในงาน ไม่แตกต่างกัน 4) ปัจจัยจูงใจ/ปัจจัยกระตุ้น ในเรื่องความรับผิดชอบมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านปริมาณงานสูงสุด (r=.651) ด้านเวลาเป็นลำดับรองลงมา (r=.599) และด้านคุณภาพของงานอยู่ในลำดับถัดมา (r=.578) ส่วนในเรื่องด้านความสำเร็จในการทำงานของบุคคลมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานด้านค่าใช้จ่ายสูงสุด (r=.566) ปัจจัยค้ำจุน ในเรื่องความมั่นคงมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
104 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250