fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นกับการบริหารคุณภาพของ SMEs ไทย-ญี่ปุ่น : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น และ การบริหารคุณภาพของ SMEs ไทย-ญี่ปุ่น 2) เปรียบเทียบปัจจัยองค์กรที่ส่งผลกับการบริหาร การผลิตแบบญี่ปุ่น และการบริหารคุณภาพของ SMEs ไทย-ญี่ปุ่น และ 3) เพื่อหาความสัมพันธ์ ระหว่างการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นกับการบริหารคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ องค์กรธุรกิจ SMEs จํานวน 64 องค์กร โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช่ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาระดับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นและการบริหารคุณภาพ พบว่า องค์กร SMEs ไทย-ญี่ปุ่น ให้ความสําคัญกับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นในระดับสูง (X=3.55) และให้ความสําคัญกับการบริหารคุณภาพในระดับสูง (X=3.92) ผลการเปรียบเทียบการบริหารคุณภาพด้านต้นทุน พบว่า ขนาดองค์กรที่มีจํานวนพนักงาน น้อยกว่า 50 คน มีการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นด้านมาตรฐานการปฏิบัติงานด้าน 5ส ด้านการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ด้าน PDCA ด้าน Ho-Ren-So และการขจัดความสูญเปล่า แตกต่างจาก องค์กรที่มีจํานวนพนักงานมากกว่า 50 อย่างมีนัยสําคัญ และการบริหารคุณภาพด้านการจัดส่ง พบว่า องค์กรที่มีเงินลงทุนจากประเทศญี่ปุ่นจะมีการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นด้านมาตรฐาน การปฏิบัติงาน 5ส การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง PDCA Ho-Ren-So และการขจัดความสูญเปล่า แตกต่างจากองค์กรที่ไม่ได้รับเงินลงทุนจากญี่ปุ่นอย่างมีนัยสําคัญ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าการบริหารคุณภาพด้านคุณภาพมีความสัมพันธ์ กับด้านการขจัดความสูญเปล่า (r=0.704) ในระดับสูง ส่วนด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน (r=0.361) 5ส (r=0.386) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (r=0.435) และ Ho-Ren-So (r=0.478)
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
89
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม