fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การพัฒนาความแข็งแรงของวัสดุผสมของพอลิแลกติกแอชิดกับเซลลูโลสจากฟางข้าว : ข้าวเป็นผลิตภัณฑ์หลักของภาคเกษตรกรรมในประเทศไทย ผลพลอยได้หลักจากการปลูกข้าว คือ ฟางข้าว ฟางข้าวมีแนวโน้มการนำมาเป็นเส้นใยธรรมชาติเพื่อทดแทนเส้นใยสังเคราะห์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้น งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการลดปริมาณเศษวัสดุจากธรรมชาติโดยเลือกฟางข้าว เพื่อศึกษากระบวนการเพิ่มมูลค่าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายยิ่งขึ้น โดยการนำเส้นใยธรรมชาติจากฟางข้าวมาพัฒนาวัสดุพอลิเมอร์ พอลิแลกติกแอซิด โดยการศึกษาวิธีการปรับปรุงวัสดุผสมไม้พลาสติกให้มีสมบัติด้านความแข็งแรงมากกว่าพอลิแลกติกแอซิดบริสุทธิ์ โดยการมุ่งเน้นการการเปรียบเทียบผลการทดสอบความแข็งแรงไม้พลาสติกของกระบวนการกำจัดลิกนินจากเส้นใยธรรมชาติจากฟางข้าวกับเส้นใยฟางข้าวที่ไม่ผ่านกระบวนการกำจัดลิกนิน และปริมาณเส้นใยธรรมชาติจากฟางข้าว นอกจากการปรับปรุงสมบัติด้านความแข็งแรงและการเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรกรรมแล้ว ข้อดีของไม้พลาสติกยังมีสมบัติทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ป้องกันแมลง และยังยืดอายุการใช้งานได้เพราะเป็นการรวมข้อดีของพอลิแลกติกแอซิดและฟางข้าวเข้าด้วยกัน จนสามารถพัฒนาสูตรการผสมเส้นใยธรรมชาติจากฟางข้าว โดยสามารถสรุปได้ว่า ปริมาณเส้นใยธรรมชาติจากฟางข้าวที่เหมาะสมที่สุดคือ 20 เปอร์เซ็นต์โดยมวลในไม้พลาสติก โดยที่ฟางข้าวต้องผ่านกระบวนการกำจัดลิกนินก่อนการผสมพอลิแลกติกแอซิดด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ โดยสามารถเพิ่มความต้านทานแรงดึง 50.8% และเพิ่มความต้านทานแรงดัดมากกว่า 200% ของพอลิแลกติกแอซิดบริสุทธิ์
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
48 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250