fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
คุณภาพการให้บริการสไตล์ OMOTENASHI ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าและแนวโน้มการกลับมาใช้บริการซ้ำ : วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคร้านอาหารญี่ปุ่น และศึกษาการรับรู้ของผู้บริโภคที่มีต่อการให้บริการตามสไตล์ OMOTENASHI ของญี่ปุ่น โดยศึกษาคุณภาพการให้บริการสไตล์ OMOTENASHI ที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของลูกค้าและแนวโน้มการกลับมาใช้บริการซ้ำ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้ใช้แนวคิดการประเมินคุณภาพการให้บริการ “SERVQUAL” ประกอบด้วยคุณภาพบริการทั้ง 10 ด้าน โดยประยุกต์จากงานวิจัยในอดีตของ Qin; and Prybutok (2009) ดังนี้ สิ่งที่จับต้องได้ (Tangible), ความน่าเชื่อถือ (Reliability), ความไว้วางใจ (Assurance), การตอบสนองของพนักงาน (Responsiveness), การเอาใจใส่ (Empathy), การแก้ไขปัญหาของพนักงาน (Recovery), คุณภาพของอาหาร (Food Quality), คุณค่าที่ได้รับ (Perceived Value), ความพึงพอใจของลูกค้า (Customer Satisfaction) และแนวโน้มการกลับ มาใช้บริการ (Behavioral Intentions) กลุ่มตัวอย่างได้แก่กลุ่มผู้ที่ชื่นชอบบริโภคอาหารญี่ปุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 150 ตัวอย่าง สถานที่เก็บแบบสอบถาม เช่น ร้านอาหารญี่ปุ่นภายในศูนย์การค้าชั้นนำ หรือร้านอาหารญี่ปุ่นที่บริหารงานโดยชาวญี่ปุ่นย่านสยาม ทองหล่อ อโศก และ สีลม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลนั้น สร้างขึ้นในลักษณะแบบสอบถาม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลและวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ความถี่ ค่าสถิติทดสอบ และการทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ในการวิเคราะห์นั้น ได้ใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป จากการวิจัยพบว่า จากผลการทดสอบสมติฐานจากประเด็นการวัดการวัดคุณภาพการให้บริการทั้งหมด 10 ด้าน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า สิ่งที่จับต้องได้ (Tangible) ความน่าเชื่อถือ (Reliability) ความไว้วางใจ (As
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
98
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม