fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การบริหารองค์กรแบบ Z มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานชาวไทยในองค์กรญี่ปุ่น : งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารองค์กรแบบญี่ปุ่น โดยทฤษฎี Z ของ William Ouchi (1981) ทั้ง 7 ด้าน กับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานชาวไทยในองค์กรญี่ปุ่น โดยทฤษฎีความผูกพันต่อองค์กรของ Allen and Mayer (1997) และเพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน โดยกลุ่มตัวอย่างคือพนักงานตั้งแต่ระดับปฏิบัติการจนถึงระดับผู้บริหารที่ทำงานในองค์กรญี่ปุ่น ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 1 กลุ่ม และการวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
การศึกษาพบว่า การบริหารองค์กรแบบ Z ในองค์กรญี่ปุ่นนั้นเป็นหนึ่งในปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ส่งผลกับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานชาวไทยได้ และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับมากและปานกลางกับความผูกพันต่อองค์กร ซึ่งถ้าเรียงลำดับปัจจัยจากระดับความสัมพันธ์มาก-น้อย ในการบริหารองค์กรแบบ Z แล้ว 5 อันดับแรก ที่มีความสัมพันธ์ระดับมากคือ 1. ความเกี่ยวข้องกันในลักษณะครอบครัว 2. ความรับผิดชอบเฉพาะบุคคล 3. เส้นทางอาชีพแบบเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระดับปานกลาง 4. การตัดสินใจเป็นเอกฉันท์ และ 5.ปัจจัยที่ว่าการประเมินผลและการเลื่อนตำแหน่งแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์กรที่อยู่ในระดับปานกลางคือ ส่วนปัจจัยที่ 6. การควบคุมตนเองอย่างไม่เป็นทางการโดยมีการวัดผลอย่างชัดเจนและเป็นทางการ และ 7. การจ้างงานระยะยาว โดยระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานชาวไทยอยู่ในระดับสูงเพียงด้านเดียวคือด้านความรู้สึก
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
95 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250