fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การประยุกต์ใช้การผลิตแบบลีน : กรณีศีกษา บริษัท ทีบีเคเค (ประเทศไทย) จำกัด : สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตสินค้ารุ่น A ของกรณีศึกษาบริษัทในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ดำเนินการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาของสายการผลิตสินค้ารุ่น A โดยใช้แผนผังสายธารคุณค่าเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ค้นหาจุดที่เป็นคอขวดของกระบวนการ ใช้เครื่องมือ OEE วิเคราะห์จุดที่เป็นปัญหา ดำเนินการปรับปรุงลดความสูญเปล่าด้วยหลักการและทฤษฎีการลดเวลา การปรับตั้งเครื่องจักร (SMED) และประเมินผลการปรับปรุงด้วยตัวชี้วัด OEE เปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุง
ผลการศึกษาพบว่ากระบวนการผลิตสินค้ารุ่น A ประกอบด้วยกระบวนการกลึง (Lathe Process) กระบวนการปาดและเจาะรู (Machining Center Process) กระบวนการขัด (Honing Process) กระบวนการล้าง (Washing Process) และกระบวนการประกอบ (Cap Sealing Assembly) ซึ่งทั้ง 5 กระบวนการพบจุดที่เป็นคอขวดของกระบวนการที่ Machining Center Process เนื่องจากมีค่า OEE โดยรวมต่ำเพียงร้อยละ 78.8 และจากการวิเคราะห์โดยจำแนก OEE ออกมาพบว่าอัตราเดินเครื่อง (Availability) เป็นจุดที่มีปัญหาต่ำที่สุดเพียงร้อยละ 80.9 เนื่องจากสูญเสียเวลาส่วนใหญ่กับการเปลี่ยน Tool ตามรอบเวลา จึงได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขลดเวลาการเปลี่ยน Tool ลง ด้วยการจัดทำแผนภูมิกระบวนการการเปลี่ยน Tool และแยกขั้นตอนที่เป็นงานนอก งานใน จากนั้นดำเนินการปรับปรุงโดยย้ายงานในให้เป็นงานนอก และขยายผลไปยังการเปลี่ยน Tool รายการอื่นๆที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ทำให้สามารถลดเวลาการเปลี่ยน Tool ต่อวันลงได้ 111 นาทีต่อวัน ส่งผลให้อัตราเดินเครื่อง (Availability) สูงขึ้นจากร้อยละ 80.9 ในเดือนกันยายน 2560 ก่อนการปรับปรุง เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90 ในเดือนพฤศจิกายน 2560 และค่าประสิท
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
69 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250