fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเทคนิคตามมาตรฐาน ISO/TS16949:2009 ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ระดับล่าง กรณีศึกษาโรงงานผลิตสกูรน๊อต : งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเทคนิคตามมาตรฐาน ISO/TS16949:2009 ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ระดับล่าง และเพื่อศึกษาหาแนวทางในการลดความผันแปรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการผลิต แนวคิดและหลักการของเครื่องมือนี้ คือ การควบคุมความผันแปรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่การตรวจรับวัตถุดิบ การจัดเก็บวัตถุดิบ การผลิต การจัดเก็บสินค้าสำเร็จรูป และการส่งมอบให้แก่ลูกค้า ซึ่งการดำเนินงานตามแนวคิดนี้ จะทำให้สามารถควบคุมคุณภาพที่ต้องการได้ และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากที่สุด จากการศึกษาการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเทคนิคตามมาตรฐานISO/TS16949:2009 ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ระดับล่าง พบว่า ความผันแปรที่เกิดขึ้นภายใต้กระบวนการผลิตได้แก่ ความผันแปรที่เกิดจากพนักงานฝ่ายผลิตที่ทำการตรวจรับวัตถุดิบ ความผันแปรที่เกิดจากพนักงานฝ่ายตรวจสอบคุณภาพที่ทำการตรวจผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการผลิต ความผันแปรที่เกิดจากเครื่องมือวัดที่ใช้ตรวจวัดผลิตภัณฑ์ทั้งกระบวนการและความผันแปรที่เกิดจากเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต ผลที่ได้ คือ ค่า RPN สูงสุดเกิดขึ้นกับชิ้นส่วนแม่พิมพ์รีดเกลียว ของกระบวนการผลิตชิ้นงาน (SCREW JMP M5) มีค่าลดลง จาก 120 เหลือ 50 อีกทั้งส่งผลให้ค่าสมรรถนะกระบวนการผลิต Cp เพิ่มขึ้นจาก 0.95 เป็น 1.22 และ Cpk เพิ่มขึ้นจาก 0.83 เป็น 1.14 และเปอร์เซ็นต์ GR&R ของระบบการวัดมีค่าอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ คือ มีค่าอยู่ที่ 3.85% ซึ่งจากผลการศึกษาการประยุกต์ใช้เครื่องมือทางเทคนิคตามมาตรฐาน ISO/TS16949:2009 ของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ระดับล่าง ได้แก่ FMEA SPC และ MSA สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตชิ้นงาน SCREW JMP M5 เพิ่มขึ้นจาก 75% เป็น 93%
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
67 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม