fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การประยุกต์ใช้การวินิจฉัยเพื่อประเมินศักยภาพและประสิทธิภาพกระบวนการผลิต กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผู้ผลิตเลนส์สายตา : สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้ความรู้การวินิจฉัยองค์กรเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต กรณีศึกษา อุตสาหกรรมผู้ผลิตเลนส์สายตา โดยเลือกทำการศึกษากับฝ่ายผลิตสำหรับหนึ่งผลิตภัณฑ์ซึ่งเทียบได้กับองค์กรขนาดเล็ก เพื่อศึกษา และประเมินปัจจัยทั้ง 8 ด้านของการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพกระบวนการผลิตมากที่สุดตามหลักการการวินิจฉัย จากนั้นทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาของปัจจัยหลักดังกล่าวด้วยหลักการ Why-Why Analysis เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งในการศึกษานี้ใช้เทคนิค ECRS ในการปรับปรุง
จากการศึกษานี้ พบว่า ประเด็นปัญหาหลักของฝ่ายผลิตบริษัทกรณีศึกษา คือ การควบคุมต้นทุน เนื่องจากมีปัญหางานรอระหว่างกระบวนการจนทำให้ประสิทธิภาพการผลิตต่ำกว่าที่ควรจะเป็น และจากการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาการรองานพบว่ามี 2 สาเหตุได้แก่ สาเหตุแรก คือ ข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยี ซึ่งผู้ศึกษาไม่ได้เสนอแนะใดๆ เนื่องจากต้องอาศัยข้อมูลเชิงลึกในการศึกษาและแก้ไขปรับปรุง สาเหตุที่สอง คือ การมีรอบเวลาการผลิตของเครื่องล้างแม่พิมพ์แก้วที่นานกว่าขั้นตอนอื่นจนทำให้เกิดคอขวดของกระบวนการผลิตขึ้น โดยผู้ศึกษาได้เสนอให้ใช้เทคนิคการกำจัด (Elimination) เพื่อลดรอบเวลาของการล้างจาก 4 นาที เป็น 3 นาที ซึ่งใกล้เคียงกับขั้นตอนอื่นๆ ซึ่งส่งผลให้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ดังนี้
1. กำลังการผลิต เพิ่มขึ้นจาก 19,350 เลนส์ต่อวัน เป็น 25,800 เลนส์ต่อวัน ซึ่งกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นถึง 6,450 เลนส์ต่อวัน หรือคิดเป็น 33.33%
2. ประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มขึ้นจาก 56.2% ในปัจจุบัน เป็น 72.15% หลังการ ปรับลดรอบเวลาการล้างแม่พิมพ์แก้ว หรือคิดเป็นประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันถึง 15.95
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
72 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250