fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ กรณีศึกษา อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วน : การศึกษาขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์
นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีของขีดความสามารถที่จำเป็นของบุคลากรด้าน
โลจิสติกส์ และเพื่อกำหนดรายการขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ เพื่อรองรับ
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้
ข้อมูลที่มีอยู่แล้วและข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกซึ่งทำให้ได้ข้อมูลที่มีการยืนยันจาก
หลายๆ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนความถูกต้องของข้อมูลและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดย
ทำการวิเคราะห์เนื้อหา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ
และบุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
ผลการศึกษาพบว่า ขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์ในความคิดเห็น
ของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรมมีความเห็นที่สอดคล้องกันใน
ด้านการนำนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรม ความรู้ด้านเทคโนโลยีต่างๆ การใช้วิธีการ
แบบการบริการรับเหมา การมีความคิดสร้างสรรค์และปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนา
ขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การศึกษายังค้นพบ
ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์ประกอบด้วย ปัญหาด้านบุคลากร
ในการเรียนรู้ และการปรับตัว แรงจูงใจ การสร้างมุมมองและการผลักดันการก้าวสู่เศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ยังไม่ชัดเจน การขาดเทคโนโลยีที่มาสนับสนุนในการพัฒนาสู่การเป็นเศรษฐกิจ
สร้างสรรค์ การขาดงบประมาณในการอบรมบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ การขาดความชัดเจน
เกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของธุรกิจเกี่ยวกับยานยนต์และชิ้นส่วน การสนับสนุนจากองค์กร
และการให้ความสำคัญในด้านโลจิสติกส์ยังมี
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
151 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250