fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การพัฒนาธุรกิจจากกากอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ กรณีศึกษา กากส้มและกากฝรั่ง : ในปีหนึ่งๆ มีกากของเสียประเภทกากผลไม้จากโรงงานอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป
มากกว่า 400,000 ตัน ซึ่งต้องกำจัดและเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการวิจัย
นี้ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากกากผลไม้โดยการ
หมักเป็นสารบำรุงดินและพัฒนาเป็นธุรกิจ ในการศึกษานี้ได้ทำการทดลองหาวิธีหมักกากผลไม้
เป็นสารบำรุงดิน โดยการนำกากผลไม้จากโรงงานอุตสาหกรรมน้ำผลไม้บรรจุขวดแห่งหนึ่งมา
ใช้ในการทดลอง และใช้เฉพาะกากส้มและกากฝรั่ง โดยนำกากแต่ละชนิดมาผสมกับมูลวัว
ขี้เถ้าแกลบ และใช้สารเร่ง พ.ด.1 ของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เป็นหัวเชื้อจุลินทรีย์ ควบคุมความชื้นที่ ร้อยละ 40 50 และ 60 ตามลำดับ แล้วแยกบรรจุใน
กระสอบพลาสติกสาน เก็บไว้ในที่ร่มติดตามประสิทธิภาพการหมักด้วยการวัดอุณหภูมิทุก 24
ชั่วโมงจนกว่าจะคงที่ การทดลองทำ 3 ซ้ำ แล้วเก็บตัวอย่างจากกระสอบที่เหมาะสมส่งตรวจ
วิเคราะห์คุณภาพที่ห้องปฏิบัติการกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนการหา
ความเป็นไปได้ในการพัฒนาเชิงธุรกิจ ค่าที่นำมาใช้ในการพิจารณาคือมูลค่าปัจจุบันสุทธิ
ระยะเวลาคืนทุน และอัตราผลตอบแทนโครงการ
ผลการวิจัยพบว่าทั้งกากส้มและกากฝรั่งสามารถหมักเป็นสารบำรุงดินได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยกากส้มควรหมักด้วยความชื้นร้อยละ 50 และกากฝรั่งควรหมักด้วยความชื้น
ร้อยละ 40 ส่วนการบ่มควรใช้ระยะเวลาประมาณ 16 วัน ผลการวิเคราะห์คุณภาพที่ได้เมื่อเทียบ
กับเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร (2549) กระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ พบว่าอยู่ในเกณฑ์คุณภาพตามมาตรฐานดังกล่าว ส่วนการศึกษาความเป็นไปได้ใน
การพัฒนาเป็นธุรกิจนั้นพบว่า ต้องใช้งบประมาณการลงทุนประมาณ 7 ล้านบาท กำลังการผลิต
2.5 ตันต่อวันใน
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
164 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250