fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การปรับปรุงคุณภาพน้ำจากระบบรีเวิร์ส ออสโมซิสของโรงผลิตชิ้นส่วนสารกึ่งตัวนำในจังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการออกแบบการทดลอง : งานวิจัยนี้ศึกษาการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานระบบรีเวิร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis : RO) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบำบัดนํ้าสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมของโรงงานผลิตชิ้นส่วน สารกึ่งตัวนำในจังหวัดฉะเชิงเทรา
การทดลองดำเนินการโดยการวิเคราะห์เก็บตัวอย่างค่าความนำไฟฟ้า (Conductivity) ของ นํ้าที่จ่ายเข้าระบบรีเวิร์ส ออสโมซิส และนํ้าหลังผ่านระบบรีเวิร์ส ออสโมซิส โดยการเปรียบเทียบการ
นำไฟฟ้าโดยปรับค่าความเข้มข้นของสารป้องกันตะกรัน (T-001 Antiscale R.O.) ที่ 10%, 20%, 30% โดยปริมาตร และค่าความเข้มข้นของสารยับยั้งการเกิดจุลินทรีย์ (T-002 Antislime R.O.) ท ี่10%, 20%, 30% โดยปริมาตร ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีการใช้งานในระบบรีเวิร์ส ออสโมซิสของโรงงานใน
การศึกษานี้โดยใช้ซอฟต์แวร์ MINITAB RELEASE 16 ถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบการ
ทดลองด้วยวิธีทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพื่อวิเคราะห์ความความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการแปรผันของความเข้มข้นของสารป้องกันตะกรัน( T-001 Antiscale R.O.) มีผลที่เป็นนัยสำคัญเพียงปัจจัยเดียวในคุณภาพของนํ้าที่ผ่านการบำบัดระบบรีเวิร์ส ออสโมซิส ที่ค่า
ความนำไฟฟ้าระหว่าง 5.38-9.94 μS/cm และประสิทธิภาพการกรองระหว่าง 96.32%-98.61% เนื่องจาก แสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติที่ค่า P-Value มีค่าน้อยกว่า 0.05 การกระจายตัวของ
ข้อมูลเป็นแบบปกติ และความเสถียรของความแปรปรวน แต่ไม่สามารถสร้างสมการทำนายผลตอบแทนได้
เนื่องจากมีเพียงปัจจัยเดียวที่มีผลต่อกระบวนการ
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
56 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250