fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
แนวทางการบริหารสวัสดิการของพนักงานในกลุ่มธุรกิจยานยนต์ : กรณีศึกษา บริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารสวัสดิการของพนักงานในกลุ่ม
ธุรกิจยานยนต์ ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นพนักงานของบริษัทกลุ่มธุรกิจยานยนต์ในเขต
นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อศึกษาความสัมพันธ์
ระหว่างปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ปัจจัยสวัสดิการแรงงานที่นอกเหนือจากกฎหมายกำหนด และ
ปัจจัยด้านโครงสร้างของตำแหน่งงาน ที่มีต่อความพึงพอใจในระบบการบริหารสวัสดิการ ประมวลผล
ข้อมูลด้วยหลักสถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสถิติ T-test
และวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) ที่ค่านัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัย ทั้งสามกลุ่มมีผลต่อระดับความพึงพอใจในระบบการบริหารสวัสดิการของพนักงานที่แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญ จากผลการศึกษาพบว่า
1. ดานปจจยส่วนบุคคล ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง
อายุระหว่าง 41-50 ป ีมีระดับการศึกษาต่ำกว่าหรือเทียบเท่ากับมัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มีสถานภาพสมรสไม่มีบุตรธิดา ทำงานในฝ่ายผลิต เป็นพนักงานมีระยะเวลาในการทำงาน มากกว่า
15 ปีขึ้นไป
2. ปัจจัยด้านเพศที่แตกต่างกัน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นเกี่ยวกับ
สวัสดิการที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ด้านนันทนาการและสุขภาพอนามัย แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
3. ปัจจัยด้านลักษณะงานที่แตกต่างกัน โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กับความคิดเห็น
เกี่ยวกับสวัสดิการที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด ด้านการมุ่งพัฒนาลูกจ้าง แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
4. ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับสวัสดิการที่นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดด้าน
สวัสดิการด้านการมุ่งพัฒนาลูกจ้างมีความคิดเห็นน้อยที่
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
217 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250