fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การปรับปรุงเพื่อเพิ่มเปอร์เซ็นต์ความพร้อมใช้งาน (Availability) ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วนโดยการประยุกต์ใช้เทคนิค SMED กรณีศึกษา บริษัทผลิตสิ่งพิมพ์ฟอร์มต่อเนื่อง : การศึกษาครั้งนี้ เป็นการประยุกต์ใช้เทคนิค Single Minute Exchange of Die (SMED) เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความพร้อมใช้งาน (Availability) ของเครื่องพิมพ์ออฟเซตป้อนม้วน โดยลดเวลาการ ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ป้อนม้วน และลดเวลาความสูญเปล่าในกระบวนการ พิมพ์แบบฟอร์มต่อเนื่อง โดยการเก็บข้อมูลของขั้นตอนการปฏิบัติงาน จากโรงงานผลิตสิ่งพิมพ์ฟอร์มต่อเนื่องซึ่งเป็นโรงงานตัวอย่างในการ ปรับปรุงและเลือกเครื่องพิมพ์ต้นแบบและนำความสูญเสียรวมของ บริษัทมาพิจารณาประกอบในส่วนของการผลิต (Production Loss) เมื่อ แยกความสูญเสียในแต่ละส่วนจะเห็นว่าความพร้อมการใช้งานของ เครื่องจักรมีการสูญเสีย 13.91 ล้านบาท ซึ่งปัญหาหลักเกิดจากความ พร้อมในการทำงานของเครื่องพิมพ์ที่มีเปอร์เซ็นต์ต่ำ เมื่อวิเคราะห์ ข้อมูลสัดส่วนความพร้อมในการทำงานนั้นจะเห็นถึงสัดส่วนการปรับตั้ง (Setup) มีค่าที่สูงถึง 53% จึงนำมาดำเนินการปรับปรุงโดยประยุกต์ใช้ เทคนิค SMED เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลขั้นตอนและเวลาการทำงาน พิมพ์มีเวลาโดยรวม 266.29 นาที พร้อมทั้งแยกแยะงานตาม วัตถุประสงค์ของการทำงาน งานสูญเปล่า 3.45 นาที งานปรับตั้งภายใน 247.50 นาที งานปรับตั้งภายนอก 15.04 นาที หลังจากการปรับปรุง พบว่า สามารถลดเวลางานสูญเปล่าจากกิจกรรม 5ส เปลี่ยนงานปรับตั้ง ภายในให้เป็นงานปรับตั้งภายนอก เหลือเวลางานปรับตั้งภายใน 218 นาที วิเคราะห์งานปรับตั้งภายในเพื่อลดเวลาโดยรวม ทำการปรับปรุง เวลาการปรับตั้งภายในโดยใช้หลักการ Eliminate Combine Rearrange Simplify (ECRS) ในการปรับปรุงขั้นตอนเวลาลดลงเหลือ 92.37 นาที สำหรับงานปรับตั้งภายนอกปรับปรุงจากกิจกรรม 5ส เวลาลดลงเหลือ 33.03 นาที บริษัทสามารถลดต้นทุนได้ 245,185 บาทต่อปี
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
ปีที่พิมพ์
1
เลขหน้า
83 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม