fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
รานงานฉบับสมบูรณ์ การพัฒนากระบวนการสังเคราะห์คาร์บอนรูพรุน : โครงการวิจัยนี้มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการสังเคราห์คาร์บอนรูพรุนที่ไม่ซับซ้อนและมีประสิทธิภาพ โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่งมุ่งเน้นการใช้วัตถุดิบจากวัสดุเหลือใช้หรือผลผลิตจากการเกษตรเพื่อผลผลิตถ่านกัมมันต์ ส่วนที่สองเน้นพัฒนาแนวทางเบื้องต้นในการสังเคราะห์คาร์บอนรูพรุนชิดเม็ดด้วยกระบวนการโซล-เจลพอลิคอนเดนเซซั่นโดยใช้เทคนิคการปั่นกวนอย่างง่าย และส่วนที่สามเป็นการทดลองผลิตภัณฑ์ที่สังเคราะห์ได้ในการประยุกต์ใช้สำหรับการบำบัดน้ำเสีย จากการศึกษาการผลิตถ่านกัมมันจากเมล็ดมะขามสามารถผลิตได้ด้วยวิธีการคาร์บอไนเซซันภายใต้บรรยากาศของก๊าซไนโตรเจน พบว่าอุณหภูมิการไพโรไลซิสเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลต่อคุณสมัติรูพรุนของถ่านกัมมันต์ และสามารถปรับปรุงคุณสมบัติรูพรุนได้ด้วยการกระตุ้นทางเคมีโดยใช้โพแทสเซียมไฮดรอกไซต์ (KOH) ในการศึกษาการสังเคราะห์คาร์บอนแอโรเจลไมโครสเฟียร์ โดยใช้วิธีการฉีดอย่างง่าย ให้เกิดเป็นอิมัลซัน ผ่านกระบวนการโซลเจลพอลิคอนเดนเซซันของสารละลายรีซอร์ซินอล-ฟอร์มาลดีไอล์โดยใช้โซเดียมคาร์บอเนตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการแลกเปลี่ยนตัวทำละลายกับน้ำในรูพรุนโดยใช้อะซิโตน การทำแห้งแบบเหนือวิกฤติโดยใช้คาร์บอนไดออกไซต์เหนือวิกฤตและการทำคาร์บอนไนเซซันในบรรยากาศของก๊าซไนโตรเจนที่อุณภูมิสูง โดยการศึกษาอิทธิพลของเวลาบ่มก่อนการฉีด 1-4 ชั่วโมง อัตราการฉีด 0.25-1.00 ml/h และอัตราการปั่นกวนของเฟสต่อเนื่อง 180-450 rpm ที่มีผลต่อขนาดของอนุภาคและสมบัติรูพรุนของคาร์บอนแอโรเจลไมโครสเฟียร์ที่สังเคราะห์ได้ พบว่าประสบความสำเร็จในการเตรียมคาร์บอนแอโรลเจลที่มีรูปร่างทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเฉลี่ยของคาร์บอนแอโรเจลไมโครสเฟียร์ได้สังเคราะห์ได้อยู่ในช่วงประมาณ 20 ถึง 55 pm โ
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
59
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม