fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
ผลตอบแทนต่อแรงจูงใจของพนักงาน กรณีศึกษา : ผลตอบแทนต่อแรงจูงใจของพนักงาน กรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของผลตอบแทน ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของพนักงานในบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ที่ศึกษาเกี่ยวกับผลตอบแทนที่ได้รับจากองค์กร และปัจจัยที่มีอิทธิพบต่อแรงจูงใจในการทำงาน เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญขององค์ประกอบด้านผลตอบแทน
การศึกษาเป็นการผสมผสานการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) และเชิงปริมาณ (Quantitative research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัยโดยใช้ Likert Scale เป็นมาตรวัด โดยแบบสอบถามจำนวน 264 แจกจ่ายไปยังพนักงานของบริษัทกรณีศึกษาจำนวน 6 บริษัทด้วยวิธีการสุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมารตฐาน การทดสอบด้วยตัวสถิติทีื หรือ T-Test ตัวสถิติเอฟ หรือ F-Test จากการวิเคราะห์ความแปรรวน (Analysis of Variance หรือ ANOVA)
จากผลการศึกษาพบว่าพนังานกลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจนต่อผลตอบแทนในระดับปานกลาง เกี่ยวกับทัศนคติต่อผลตอบแทนที่ได้รับจากองค์กร พนักงานที่ตอบแบบสอบถาม มีทัศนคติว่าผลตอบแทนที่ได้รับไม่เหมาะสบ เนื่องจากพนักงานมีความคาดหวังสูงและมีการเปรียบเทียบกับบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์อิ่น ๆ โดยผลตอบแทนที่มีระดับความพึงพอใจสูงได้แก่ 1.การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน 2.ความรับผิดชอบในการทำงาน 3.การทำงานเป็นทีม 4.ความปลอดภัยในการทำงาน 5.การมีตัวตนในองค์กร จากผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างแรงจูงใจในการทำงานสามารถนำมาจัดลำดับความสำคัญได้ดังนี้คือ ลำดับที่ 1. เงินเดือน/ค่าจ้าง 2.โบนัส 3.ความปลอดภัยในการทำงาน 4.ค่าล่วงเวลา (โอที) 5.ความมั่นคงในอาชีพการทำงาน จากการศึกษาพบว่าความพึงพอใจและระดับการมีอิทธิพลบางส่วนมีความไม่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่าง
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
ปีที่พิมพ์ |
1 |
เลขหน้า |
179 หน้า |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250