fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ในการระบุเพศของปลามังกรโดยใช้เทคนิคของ TRIZ (ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น) : ปลาอะโรวานาหรือปลามังกรมีราคาแพง แต่ละตัวขายกันเป็นหลักหมื่นถึงแสน จึงมีผู้พยายามเพาะเลี้ยงขึ้นมา การเพาะพันธุ์ปลาอะโรวานาจะเพาะเลี้ยงตามธรรมชาติโดยการปล่อยให้อยู่รวมกันหลายตัวเป็นฝูงในบ่อขนาดใหญ่แล้วให้จับคู่ผสมพันธ์กันเอง ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะว่าปลาอะโรวานาตัวผู้กับตัวเมียจะมีลักษณะเหมือนกันทุกประการจนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าตัวไหนตัวผู้ตัวไหนตัวเมีย และยังไม่มีวิธีระบุเพศปลาที่ชัดเจนได้ จึงต้องปล่อยให้อยู่รวมกันหลายตัวเพื่อสร้างโอกาสให้มีการผสมพันธุ์กัน แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ ปลาอะโรวานาจะมีนิสัยก้าวร้าว อาจเกิดการต่อสู้ทำร้ายกันจนได้รับบาดเจ็บ และเมื่อตัวเมียวางไข่ ตัวผู้จะเข้าผสมแล้วอมไข่ไว้ในปากนานเป็นเดือนจนกว่าไข่จะเพาะเป็นตัว แต่หากมีตัวผู้อยู่หลายตัวไข่ที่ผสมแล้วอาจถูกตัวผู้ตัวอื่นแย่งไปกินเป็นอาหารได้ ปัญหาเรื่องการระบุเพศปลาอะโรวานา จึงเป็นปัญหาใหญ่ที่ได้รับการศึกษาวิจัย แต่ยังไม่มีการที่ได้ผลและน่าเชื่อถือ ทางผู้วิจัยเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องวิเคราะห์หาแนวทางการวิจัยที่มีความเป็นไปได้สูงออกมาให้ชัดเจนก่อนที่จะวิจัยในเชิงลึก จึงได้ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (Theory of Inventive Problem Solving, TRIZ) มาวิเคราะห์หาความเป็นไปได้ในการระบุเพศของปลามังกร ซึ่งจากไอเดียที่ได้ 32 ไอเดีย มีไอเดียที่มีความเป็นไปได้สูงและมีประสิทธิภาพมากกว่าวิธีการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
46
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม