fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
ผลของการนิเทศแบบคลีนิค เพื่อเสริมสร้างความสามารถการทำวิจัยของนักวิจัยรุ่นใหม่ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสมรรถภาพในด้านความรู้ความเข้าใจของนักวิจัยรุ่นใหม่เกี่ยวกับการทำการวิจัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการทำวิจัยก่อนและหลังการนิเทศของนักวิจัยรุ่นใหม่ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีต่อการนิเทศแบบคลีนิค 4) เพื่อศึกษาคุณภาพของรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์และ 5) เพื่อติดตามผลการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารหรือการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ประจำแผนกภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น สำนักวิชาพื้นฐานและภาษา สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ปีการศึกษา 2558-2559 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling Technique) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจของนักวิจัยรุ่นใหม่เกี่ยวกับการทำการวิจัย แบบสอบถามความพึงพอใจของนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีต่อนิเทศแบบคลีนิค และแบบประเมินรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) สมรรถภาพในด้านความรู้ความเข้าใจของนักวิจัยรุ่นใหม่เกี่ยวกับการทำการวิจัยโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 2) นักวิจัยรุ่นใหม่มีความรู้ความเข้าใจหลังการนิเทศแบบคลินิคสูงกว่าก่อนการนิเทศอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักวิจัยรุ่นใหม่ที่มีต่อการนิเทศแบบคลีนิคโดยรวมอยู่ในระดับมาก 4) ผลของการนิเทศแบบคลีนิคในการดำเนินการวิจัยจากรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์พบว่าอยู่ในระดับดี และ 5) จำนวนบทความวิจัยที่ได้มีการเผยแพร่ตีพิมพ์ในวารสารหรือการประชุมวิชาการระดับชาติหรือนานาชาติ เป็นจำนวน 15 เรื่อง
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
61
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม