fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การพยากรณ์ราคาทองคำแท่งโดยอาศัยทฤษฎีคลื่นของอีเลียต : การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบการพยากรณ์เป้าหมายราคาทองคำแท่งและเป้าหมายเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงทิศทางราคาทองคำแท่ง โดยการศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำของวิธีการพยากรณ์ระหว่างวิธีการพื้นฐานตามทฤษฎีตัวเลขฟิโบแนซซี่ และวิธีการที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิเคราะห์ตลาดการลงทุน ซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนทฤษฎีอีเลียตเวฟและการใช้สัดส่วนตัวเลขฟิโบแนซซี่ที่พบได้บ่อยในตลาดทุนต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อเลือกใช้วิธีการที่มีความแม่นยำมากกว่าในการพยากรณ์ราคาทองคำแท่งในปี พ.ศ. 2556 และช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนทิศทางราคาทองคำ ร่วมกับการใช้ตัวชี้วัด MACD และ RSI เพื่อยืนยันผลการพยากรณ์ให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นโดยข้อมูลราคาทองคำแท่งที่เลือกใช้เป็นแบบรายวัน ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2543 จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 รวม 3,131 วัน จากนั้นจึงแปลงราคาทองคำจากหน่วยดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์มาเป็นหน่วยบาทต่อหนึ่งบาทน้ำหนัก ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษา มีดังนี้ ผลการศึกษาเปรียบเทียบความแม่นยำของวิธีการพยากรณ์ราคาทองคำแท่งและเวลาที่ราคาทองคำแท่งจะมีการเปลี่ยนทิศทางพบว่าวิธีการที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิเคราะห์ตลาดการลงทุนมีความแม่นยำมากกว่าวิธีพื้นฐานตามทฤษฎีตัวเลขฟิโบแนซซี่ ในขณะที่ตัวชี้วัด MACD และ RSI ช่วยยืนยันการนับลูกคลื่นในกลุ่มคลื่นกระตุ้นได้อย่างแม่นยำ ขณะที่ผลการพยากรณ์ราคาทองคำแท่งและช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนทิศทางราคาทองคำในปี พ.ศ. 2556 ด้วยวิธีการที่พัฒนาขึ้นโดยนักวิเคราะห์ตลาดการลงทุนพบว่าราคาทองคำแท่งกำลังเคลื่อนตัวเข้าสู่คลื่นลูกที่ 5 โดยราคาและเวลาจากการพยากรณ์เท่ากับ 2,293.01 ดอลลาร์ต่อออนซ์หรือเท่ากับ 34,004.04 บาทต่อหนึ่งบาทน้ำหนัก ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2556 โดยพบว่าราคาและทิศทางการเคลื่อนตัวของรา
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
133 หน้า
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม