fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
รายงานการวิจัย อิทธิพลของภาวะผู้นำความสำเร็จ และการบริหารทรัพยากร มนุษย์แบบญี่ปุ่นต่อความผูกพันของบุคลากร กรณีศึกษาบริษัทข้ามชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลและทดสอบความสอดคล้องของตัว
แบบจำลองเชิงสาเหตุระหว่างภาวะผู้นำความสาเร็จ การบริหารทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นที่มี
อิทธิพลต่อความผูกพันของบุคลากรกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ขององค์กรข้ามชาติญี่ปุ่นในประเทศไทย
ผู้วิจัยทำการวิจัยแบบผสมวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เจาะลึกโดยใช้การ
ลดทอนข้อมูล และการสรุปอุปนัย ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการวิจัยเชิงประจักษ์ ใช้
แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากร จำนวน 848 คน สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์
องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า แบบจำลองสมการโครงสร้างมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่
ในเกณฑ์ดี โดยมีค่า x2 = 1005.197 ที่องศาอิสระ(df) =245 ค่าไคสแควร์สัมพันธ์ (CMIN/df) เท่ากับ
4.103 ค่าความน่าจะเป็น (Probability level=p value) =0.000 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) =
.907 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) =.886 ดัชนีวัดความกลมกลืนเปรียบเทียบ
(CFI) =.964 ดัชนีวัดความสอดคล้องอิงเกณฑ์ (NFI) =.953 ค่าดัชนีรากที่สองของกำลังสองเฉลี่ย
ของส่วนที่เหลือ (RMR) = .019 ค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ
(RMSEA) = .061
นอกจากนี้ยังพบว่า ภาวะผู้นำความสำเร็จมีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันของบุคลากร
และยังพบว่า ภาวะผู้นำความสาเร็จมีอิทธิพลทางตรง และมีอิทธิพลทางอ้อมภายใต้การบริหารงาน
ทรัพยากรมนุษย์แบบญี่ปุ่นต่อความผูกพันของบุคลากร
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
152 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250