fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การพัฒนาสมรรถนะระบบทำความเย็นของตู้จำหน่ายเครื่องดื่มอัตโนมัติ : บริษัทผู้จำหน่ายตู้ขายเครื่องดื่มอัตโนมัติในประเทศไทยแห่งหนึ่ง นำเข้าตู้มือสองจากประเทศญี่ปุ่นมาปรับปรุงและตกแต่งเพื่อจำหน่ายให้กับลูกค้า ซึ่งคอมเพรสเซอร์ถูกใช้งานมาอย่างยาวนานทำให้เกิดการเสื่อมสภาพและซ่อมแซมได้ยากเนื่องจากไม่สามารถหาอะไหล่ได้ บริษัทจึงประสงค์ทำวิจัยเพื่อทดสอบผลการเปลี่ยนเป็นคอมเพรสเซอร์ที่ผลิตในประเทศไทย ในขณะที่ระบบความเย็นทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงระบบเดิม
ประสิทธิภาพของวงจรทำความเย็นแบบอัดไอขึ้นอยู่กับการออกแบบ สมรรถนะของแต่ละส่วนประกอบโดยเฉพาะคอมเพรสเซอร์ การควบคุมการทำงานและการบำรุงรักษา ดังนั้นจึงต้องทำการทดสอบเพื่อประเมินอัตราการถ่ายโอนความร้อนและค่าสัมประสิทธิ์สมรรถนะ (COP)
ในการวิจัยครั้งนี้ภาระความเย็นของตู้แช่เย็นคือเครื่องดื่มกระป๋องอะลูมิเนียม 594 กระป๋องและขวด PolyEthylene Terephthalate (PET) บรรจุเครื่องดื่มรวมปริมาตร 189 ลิตร ผู้วิจัยทำการทดลองระบบทำความเย็นดั้งเดิมจากญี่ปุ่นที่ใช้สารทำความเย็น R-407C และระบบทำความเย็นที่ถูกปรับเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์ที่ผลิตในประเทศไทย ที่ใช้สารทำความเย็น R134a โดยการวัดอุณหภูมิและความดันวงจรความเย็น และบันทึกกำลังไฟฟ้าที่คอมเพรสเซอร์ใช้เป็นเวลา 4 วัน ผลวิเคราะห์การทดสอบพบว่า COP ที่คำนวณได้ของวงจรทำความเย็นดั้งเดิมโดยใช้แผนภาพ P-h มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.43 ± 1.04 ด้วยอัตราการถ่ายเทความร้อนเฉลี่ย 1.25± 0.08 kWth และค่าของคอมเพรสเซอร์ที่ปรับเปลี่ยน คือ COP เฉลี่ย 2.35 ± 0.34 ที่อัตราการถ่ายเทความร้อนเฉลี่ย 0.78 ± 0.04 kWth การวิจัยนี้ทำให้ทราบว่าระบบทำความเย็นหลังจากเปลี่ยนคอมเพรสเซอร์เป็นของในประเทศ นั้นทำงานได้เทียบเคียงกับระบบเดิม แต่มีความสามารถในการทำความเย็นที่ตํ่ากว่าและทำอุณหภูมิได้ช้ากว่า ดังนั้น
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
94 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250