fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบ E-Learing โดยการตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา เพื่อการพัฒนาการเรียน E-Learning : การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดการเรียนการสอนแบบ E-Learning โดยการตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา เพื่อการพัฒนาการเรียน E-Learning มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Learning) 2) เพื่อหาตัวชี้วัดความสนใจในการเรียนผ่าน E-Learning โดยใช้อุปกรณ์ JINS MEME ในการตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา โดยสามารถแบ่งขั้นตอนในการศึกษาออกเป็น 3 ขั้นตอนได้แก่ 1) การสร้างบทเรียน E-Learning 2) การเก็บข้อมูลของผู้เรียนโดยใช้แว่นตา 3) การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถสรุปผลการศึกษาได้ดังนี้ ในการสร้างบทเรียน E-Learning มีการออกแบบบทเรียนทั้งหมด 3 รอบ ซึ่งบทเรียนที่ 1 มีรูปภาพและการวางตำแหน่งเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม บทเรียนรอบที่ 2 มีเนื้อหาต่อหน้าน้อยเกินไป และบทเรียนรอบที่ 3 เป็นบทเรียนที่มีเนื้อหาเหมาะสมมากที่สุด เรื่องพฤติกรรมของสัตว์ และได้ทดลองเก็บข้อมูลกับผู้เรียนจำนวน 14 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตรวจจับดวงตาพบว่า หากผู้เรียน 1) มีจำนวนการกระพริบตาน้อยกว่าค่าเฉลี่ย (11.40/นาที) และ 2) มีผลต่างจำนวนการเคลื่อนไหวของดวงตาขึ้นข้างบนและลงข้างล่างต่ากว่าค่าเฉลี่ย (20.60/นาที) และ 3) มีผลต่างจำนวนการเคลื่อนไหวของดวงตาไปทางซ้ายและไปทางขวาขวาต่ากว่าค่าเฉลี่ย (1.17/นาที) แนวโน้มว่ามีความสนใจในการเรียน แต่หากผู้เรียน 1) มีจำนวนการกระพริบตามากกว่าค่าเฉลี่ย (11.40/นาที) และ 2) มีผลต่างจำนวนการเคลื่อนไหวของดวงตาขึ้นข้างบนและลงข้างล่างมากกว่ากว่าค่าเฉลี่ย (20.60/นาที) และ 3) มีผลต่างจำนวนการเคลื่อนไหวของดวงตาไปทางซ้ายและไปทางขวามากกว่าค่าเฉลี่ย (1.17/นาที) แนวโน้มว่ามีความเบื่อหรือไม่สนใจในการเรียน
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
101
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม