fieldid E-Thesis & Research สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
สืบค้น:

เขตข้อมูล ข้อมูล
บทคัดย่อ
การประเมินสภาวะความสบายอุณหภาพของห้องสมุด : กรณีศึกษา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจเพื่อประเมินความรู้สึกพึงพอใจและการยอมรับ ต่อสภาพความสบายอุณหภาพ (Thermal Comfort) ภายในพื้นที่ปรับอากาศห้องสมุดของ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ จำนวน 4 ชั้น โดยใช้แบบสอบถามและเครื่องมือวัดสภาวะอากาศแวดล้อม ทำการเก็บข้อมูลในช่วงเดือน ม.ค. – ก.พ. 2562 และเดือน พ.ค. 2562 ผลวิจัยจะนำไปสู่การเสนอแนวทางการปรับปรุงสภาวะอากาศในห้องสมุด กลุ่มผู้ใช้บริการห้องสมุดที่ได้รับการสำรวจข้อมูล จำนวน 235 คน เป็นคนไทยที่พักอาศัย อยู่ในกรุงเทพฯ ร้อยละ 72.8 เป็นเพศหญิง และร้อยละ 27.2 เป็นเพศชาย จากการตรวจวัดสภาวะอากาศมีค่าเฉลี่ยอุณหภูมิอากาศ 24.38 °C ± 0.95oC ความชื้นสัมพัทธ์ 55.71% ± 5.73% โดยความเร็วลมค่อนข้างต่าที่ 0.075 m/s ± 0.14 m/s ผลการประเมินระดับความสบายอุณหภาพจากค่าการโหวตความรู้สึกเชิงอุณหภาพ (PMV) ได้ค่าเฉลี่ย -0.18 แสดงว่าผู้ใช้บริการห้องสมุดมีความรู้สึกเย็นเล็กน้อย ในขณะที่ร้อยละความไม่พอใจเชิงอุณหภาพ (PPD) เฉลี่ย 9.20 จัดอยู่ในความพึงพอใจระดับ A ตามมาตรฐาน ASHRAE ส่วนผลการประเมินความสบายทางอุณหภาพจากแบบสอบถาม (AMV) ได้ค่าเฉลี่ย -0.12 หรือมีความรู้สึกเย็นเล็กน้อยเช่นกัน และสอดคล้องกับค่าทำนาย PMV โดยรวมค่าการทำนายความสบายอุณหภาพ PMV ใกล้เคียงกับค่า AMV โดย AMV จะสูงกว่าเล็กน้อย ผลการวิเคราะห์ความน่าจะเป็นโดยวิธีการ Logit สำหรับ AMV และสำหรับความคาดหวังต่อความร้อนหรือเย็น ประเมินว่าความน่าจะเป็นที่ผู้ใช้บริการห้องสมุดจะรู้สึกสบายอยู่ที่อุณหภูมิโอเปอเรทีฟ 24.29 -24.77 oC ซึ่งเป็นช่วงค่าที่สอดคล้องกับมาตรฐาน ASHRAE โดยสรุปห้องสมุดคณะนิติศาสตร์นี้มีสภาพอากาศที่ได้รับอิทธิพลจากอุณหภูมิอากาศ อุณหภูมิการแผ่รังสีเฉลี่ยและความชื้นสัมพัทธ์ ที่สามารถสร้างความสบาย
ผู้แต่ง
ประเภทสิ่งพิมพ์
เลขหน้า
119
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
หัวเรื่อง
เอกสารฉบับเต็ม