fieldid
เขตข้อมูล | ข้อมูล |
บทคัดย่อ |
การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นและกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงานในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี : การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น 2) ระดับกิจกรรมการ
ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง 3) ระดับประสิทธิภาพการดำเนินงาน และ 4) การบริหารการผลิตแบบ
ญี่ปุ่น และกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ บุคลากรฝ่ายปฏิบัติการของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)
จำนวน 770 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าร้อยละ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ
ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่นโดยรวม อยู่ในระดับมาก
( X = 4.20) 2) ระดับกิจกรรมการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( X = 3.99) 3)
ระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( X = 4.07)
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น ด้านการบำรุงรักษาทวีผล
ที่ทุกคนมีส่วนร่วม ด้านมาตรฐานการปฏิบัติงาน และด้านการควบคุมด้วยสายตา ส่งผลต่อประสิทธิภาพ
การดำเนินงาน ด้านผลิตภาพ มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 53.2 และกิจกรรมการปรับปรุง
อย่างต่อเนื่อง ด้านการรับรู้ถึงผลลัพธ์และความสำเร็จ ด้านการมีส่วนร่วมของคนในองค์กร ด้านทักษะ
และความเพียรพยายามของพนักงาน และด้านระบบสนับสนุนและรองรับการดำเนินงาน ส่งผล
ต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านผลิตภาพ มีอำนาจในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 66.8 อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และพบว่าการบริหารการผลิตแบบญี่ปุ่น ด้านกิจกรรม 3ส ด้าน
มาตรฐานการปฏิบัติงาน ด้านการควบคุมด้วยสายตา และด้านการขจัดความสูญเปล่า ส่งผลต่อ
ประสิทธิภาพการดำเนินงาน ด้านคุณภาพ ด้านต้นทุน และด้านการส่งมอบ มีอำนาจในการพยากรณ์
ที่ร้อยละ 53.
|
ผู้แต่ง |
|
ประเภทสิ่งพิมพ์ |
|
เลขหน้า |
223 |
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
หัวเรื่อง |
|
เอกสารฉบับเต็ม |
Center of Academic Resource
Institute of Technology 1771/1, E Building, Fl. 2,
Pattanakarn Rd, Suan Luang, Bangkok, 10250